LSPs & Freight Forwarder Trend

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

www.tanitsorat.com

10.12.52

 

            การให้บริการของ Freight Forwarder ผู้ให้บริการจองระวางสินค้าหรือLogistics Service Provider  จะต้องสามารถให้บริการที่ครอบคลุมถึงการประสานงานหลังจากได้รับคำสั่งจากผู้นำเข้าหรือส่งออก ให้มีการจองหรือBooking พาหนะส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งด้วยคอนเทนเนอร์ ด้านการเลือกตัวแทนสายการเดินเรือหรือ Air Cargoes ที่ให้บริการในเส้นทางที่ลูกค้าต้องการโดยจะมีการเปรียบเทียบ คัดสรรสายการเดินเรือที่เชื่อถือได้ ซึ่งสามารถจัดส่งสินค้าได้ตามระยะเวลาที่ลูกค้ากำหนด ภายใต้ราคาที่เท่ากับหรือต่ำกว่าที่ลูกค้าจะจ้างหรือจองระวางสินค้า โดยรวมกับการจัดทำเอกสารสำหรับการนำเข้าส่งออก การบรรจุสินค้า การดำเนินพิธีการศุลกากร การจัดทำประกันภายสินค้า เลือกเส้นทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จองระวางเรือ ติดตามสินค้าที่จัดส่งไปตลอดเส้นทางการขนส่ง และทำการจัดแจงคลังสินค้าเพื่อใช้ในการเก็บสินค้า จะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการจะต้องอาศัย 3PL : Third party Logistics ที่มีความชำนาญเฉพาะสายงานเข้ามาทำการแทนองค์กรทั้งนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่าทั้งทางด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งลักษณะงานที่ส่งไปยังผู้ให้บริการ 3PL จะดำเนินการสอดคล้องกับลักษณะงานของผู้ว่าจ้าง และเป็นลักษณะงานที่ไม่ซับซ้อนสามารถควบคุมได้ด้วยระบบติดตามที่มีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่เป็นจริงมากที่สุด

 

            มาตรฐานการให้บริการของผู้ให้บริการโลจิสติกส์(LSPs)ในส่วนของการให้บริการ Freight Forwarder ของไทยจะต้องสร้าง เครือข่ายระหว่างประเทศและการให้บริการแบบ Package Service ที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มของการให้บริการ(Value-Added Services)กับผู้นำเข้าส่งออก การให้เครดิตเทอมกับลูกค้าโดยการกำหนดอัตราผลกำไรต่อต้นทุนที่แน่นอนและเป็นมาตรฐานต่อการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การบริการให้คำปรึกษาในด้านการนำเข้าส่งออกรวมถึงการบริการด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ Freight Forwarder ยังพยายามที่จะยกระดับการให้บริการลูกค้าภายในประเทศโดยการรวมกลุ่มกันกับผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ทั้งที่เป็นกิจกรรมหลัก ได้แก่ การดำเนินการด้านศุลกากร การขนส่ง การบริหารสินค้าคงคลัง การบริหารข้อมูล การสั่งซื้อ และกิจกรรมเสริมเช่น การดูแลสินค้า การบรรจุหีบห่อ การบริหารความต้องการของลูกค้า กิจกรรมทางโลจิสติกส์ (Logistics Activity) เหล่านี้จะสามารถยกระดับของ Freight Forwarder ให้มีศักยภาพด้านการแข่งขันภายในประเทศ (Freight Outbound) และเป็นการนำเสนอตัวเองสำหรับรองรับงานขาเข้า (Freight Inbound ) จากพันธมิตรทางธุรกิจในทุกมุมโลก เป็นระบบเครือข่ายแลกเปลี่ยนการบริการระหว่างกันสำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไปและกลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทระบบสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ

" />
       
 

LSPs & Freight Forwarder Trend Share


LSPs & Freight Forwarder Trend

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

www.tanitsorat.com

10.12.52

 

            การให้บริการของ Freight Forwarder ผู้ให้บริการจองระวางสินค้าหรือLogistics Service Provider  จะต้องสามารถให้บริการที่ครอบคลุมถึงการประสานงานหลังจากได้รับคำสั่งจากผู้นำเข้าหรือส่งออก ให้มีการจองหรือBooking พาหนะส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งด้วยคอนเทนเนอร์ ด้านการเลือกตัวแทนสายการเดินเรือหรือ Air Cargoes ที่ให้บริการในเส้นทางที่ลูกค้าต้องการโดยจะมีการเปรียบเทียบ คัดสรรสายการเดินเรือที่เชื่อถือได้ ซึ่งสามารถจัดส่งสินค้าได้ตามระยะเวลาที่ลูกค้ากำหนด ภายใต้ราคาที่เท่ากับหรือต่ำกว่าที่ลูกค้าจะจ้างหรือจองระวางสินค้า โดยรวมกับการจัดทำเอกสารสำหรับการนำเข้าส่งออก การบรรจุสินค้า การดำเนินพิธีการศุลกากร การจัดทำประกันภายสินค้า เลือกเส้นทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จองระวางเรือ ติดตามสินค้าที่จัดส่งไปตลอดเส้นทางการขนส่ง และทำการจัดแจงคลังสินค้าเพื่อใช้ในการเก็บสินค้า จะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการจะต้องอาศัย 3PL : Third party Logistics ที่มีความชำนาญเฉพาะสายงานเข้ามาทำการแทนองค์กรทั้งนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่าทั้งทางด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งลักษณะงานที่ส่งไปยังผู้ให้บริการ 3PL จะดำเนินการสอดคล้องกับลักษณะงานของผู้ว่าจ้าง และเป็นลักษณะงานที่ไม่ซับซ้อนสามารถควบคุมได้ด้วยระบบติดตามที่มีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่เป็นจริงมากที่สุด

 

            มาตรฐานการให้บริการของผู้ให้บริการโลจิสติกส์(LSPs)ในส่วนของการให้บริการ Freight Forwarder ของไทยจะต้องสร้าง เครือข่ายระหว่างประเทศและการให้บริการแบบ Package Service ที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มของการให้บริการ(Value-Added Services)กับผู้นำเข้าส่งออก การให้เครดิตเทอมกับลูกค้าโดยการกำหนดอัตราผลกำไรต่อต้นทุนที่แน่นอนและเป็นมาตรฐานต่อการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การบริการให้คำปรึกษาในด้านการนำเข้าส่งออกรวมถึงการบริการด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ Freight Forwarder ยังพยายามที่จะยกระดับการให้บริการลูกค้าภายในประเทศโดยการรวมกลุ่มกันกับผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ทั้งที่เป็นกิจกรรมหลัก ได้แก่ การดำเนินการด้านศุลกากร การขนส่ง การบริหารสินค้าคงคลัง การบริหารข้อมูล การสั่งซื้อ และกิจกรรมเสริมเช่น การดูแลสินค้า การบรรจุหีบห่อ การบริหารความต้องการของลูกค้า กิจกรรมทางโลจิสติกส์ (Logistics Activity) เหล่านี้จะสามารถยกระดับของ Freight Forwarder ให้มีศักยภาพด้านการแข่งขันภายในประเทศ (Freight Outbound) และเป็นการนำเสนอตัวเองสำหรับรองรับงานขาเข้า (Freight Inbound ) จากพันธมิตรทางธุรกิจในทุกมุมโลก เป็นระบบเครือข่ายแลกเปลี่ยนการบริการระหว่างกันสำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไปและกลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทระบบสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ


ไฟล์ประกอบ : 045-LSP-Freight-Transport.pdf
อ่าน : 2709 ครั้ง
วันที่ : 10/12/2009

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com