LOGISTICS  Innovation

ชัยมงคล ถ้ำกลาง

 

          การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือที่เรียกว่า “ICT” นั้น ปัจจุบันได้มีการสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบสนองกับไลฟ์สไตล์ของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดนิ่ง เข้าสู่ยุคของสังคมที่เป็นลักษณะเครือข่ายสังคม (Social Network) มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกัน เทคโนโลยีทางด้านการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ที่จะเข้ามาเพื่อตอบสนองกระบวนการทำงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ในทางโลจิสติกส์นั้น (Logistics Innovation) นั้น ได้เข้าสู่ยุคของการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดการสร้าง “เครือข่ายโลจิสติกส์” (Logistics Network)  กันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นในลักษณะที่เป็นระดับภูมิภาค  เช่น เครือข่ายโลจิสติกส์ระดับอาเซี่ยน (ASIAN Logistics Network) หรือจะเป็นในลักษณะที่เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลก (Global Logistics Network) นั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของการบูรณาการ (Integrated) และการประสานความร่วมมือ (Collaboration) ขององค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ทั้งนี้ หลายๆ องค์กรยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเลยซะทีเดียวกับการพัฒนา Logistics Innovation ว่าจะต้องเป็นการลงทุนไปกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัย รวมถึงการจัดซื้อและติดตั้ง Software Tools / Software Packages ราคาแพงที่มีโมดูลการทำงานครอบจักรวาล (แต่ใช้งานได้นิดเดียว) เพื่อให้ได้มาซึ่ง นวัตกรรม (Innovation)  หรือระบบงานใหม่ๆ ที่จะมาสนองตอบกับการทำงานขององค์กรทางด้าน Logistics เท่านั้น  โดยหากเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีเครือข่ายทั่วโลก การลงทุนนี้ก็พอที่จะพิจารณาถึงจุดคุ้มทุน ในมุมที่วัดจากขนาดขององค์กรและการใช้งานที่คุ้มค่าของเครือข่ายในเครือทั้งหมดได้  แต่แท้ที่จริงแล้ว บริษัทส่วนใหญ่ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) นั้น มีทุกขนาดขององค์กรตั้งแต่เล็ก SMEs จนไปถึงบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่  และไม่ได้เป็นเครือข่ายในเครือทั้งหมด ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่คุ้มค่ากับการลงทุน   และก่อให้เกิดห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) ในกระบวนของโลจิสติกส์นั้น ในการที่จะพัฒนาในส่วนของ “นวัตกรรมโลจิสติกส์” (Logistics Innovation) ขึ้นมาสักระบบ จะต้องมองภาพของการพัฒนาในมุมกว้าง ต้องพิจารณาว่า ใครต้องทำอะไรบ้าง ทำแล้วได้ประโยชน์อย่างไร เสียอะไรบ้าง ซึ่งไม่ได้เป็นการพัฒนาในมุมของตนเองเท่านั้น แต่จำเป็นจะต้องประสานความร่วมมือทั้งฝั่งต้นน้ำ (Upstream) และปลายน้ำ (Downstream) ว่าหากนวัตกรรมที่จะพัฒนาขึ้นมาใหม่นั้นใครมีส่วนได้ ส่วนเสีย อย่างไร  ผลประโยชน์ที่ได้ Win-Win หรือไม่ หากวิเคราะห์ออกมาแล้วนวัตกรรมที่จะทำการพัฒนานั้นไม่สามารถตอบสนองกระบวนทำการของทุกห่วงโซ่ได้  และเกิดผลในมุมมองของ  “เครือข่ายโลจิสติกส์” ที่น้อย ไม่คุ้มทุน หรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ หรือทำแล้วไม่มีใครใช้ ก็จะทำให้ Logistics Innovation ที่จะทำการพัฒนาขึ้นมานั้นกลายเป็นต้นทุนราคาแพงไปเสียเปล่า" />
       
 

LOGISTICS Innovation Share


LOGISTICS  Innovation

ชัยมงคล ถ้ำกลาง

 

          การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือที่เรียกว่า “ICT” นั้น ปัจจุบันได้มีการสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบสนองกับไลฟ์สไตล์ของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดนิ่ง เข้าสู่ยุคของสังคมที่เป็นลักษณะเครือข่ายสังคม (Social Network) มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกัน เทคโนโลยีทางด้านการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ที่จะเข้ามาเพื่อตอบสนองกระบวนการทำงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ในทางโลจิสติกส์นั้น (Logistics Innovation) นั้น ได้เข้าสู่ยุคของการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดการสร้าง “เครือข่ายโลจิสติกส์” (Logistics Network)  กันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นในลักษณะที่เป็นระดับภูมิภาค  เช่น เครือข่ายโลจิสติกส์ระดับอาเซี่ยน (ASIAN Logistics Network) หรือจะเป็นในลักษณะที่เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลก (Global Logistics Network) นั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของการบูรณาการ (Integrated) และการประสานความร่วมมือ (Collaboration) ขององค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ทั้งนี้ หลายๆ องค์กรยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเลยซะทีเดียวกับการพัฒนา Logistics Innovation ว่าจะต้องเป็นการลงทุนไปกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัย รวมถึงการจัดซื้อและติดตั้ง Software Tools / Software Packages ราคาแพงที่มีโมดูลการทำงานครอบจักรวาล (แต่ใช้งานได้นิดเดียว) เพื่อให้ได้มาซึ่ง นวัตกรรม (Innovation)  หรือระบบงานใหม่ๆ ที่จะมาสนองตอบกับการทำงานขององค์กรทางด้าน Logistics เท่านั้น  โดยหากเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีเครือข่ายทั่วโลก การลงทุนนี้ก็พอที่จะพิจารณาถึงจุดคุ้มทุน ในมุมที่วัดจากขนาดขององค์กรและการใช้งานที่คุ้มค่าของเครือข่ายในเครือทั้งหมดได้  แต่แท้ที่จริงแล้ว บริษัทส่วนใหญ่ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) นั้น มีทุกขนาดขององค์กรตั้งแต่เล็ก SMEs จนไปถึงบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่  และไม่ได้เป็นเครือข่ายในเครือทั้งหมด ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่คุ้มค่ากับการลงทุน   และก่อให้เกิดห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) ในกระบวนของโลจิสติกส์นั้น ในการที่จะพัฒนาในส่วนของ “นวัตกรรมโลจิสติกส์” (Logistics Innovation) ขึ้นมาสักระบบ จะต้องมองภาพของการพัฒนาในมุมกว้าง ต้องพิจารณาว่า ใครต้องทำอะไรบ้าง ทำแล้วได้ประโยชน์อย่างไร เสียอะไรบ้าง ซึ่งไม่ได้เป็นการพัฒนาในมุมของตนเองเท่านั้น แต่จำเป็นจะต้องประสานความร่วมมือทั้งฝั่งต้นน้ำ (Upstream) และปลายน้ำ (Downstream) ว่าหากนวัตกรรมที่จะพัฒนาขึ้นมาใหม่นั้นใครมีส่วนได้ ส่วนเสีย อย่างไร  ผลประโยชน์ที่ได้ Win-Win หรือไม่ หากวิเคราะห์ออกมาแล้วนวัตกรรมที่จะทำการพัฒนานั้นไม่สามารถตอบสนองกระบวนทำการของทุกห่วงโซ่ได้  และเกิดผลในมุมมองของ  “เครือข่ายโลจิสติกส์” ที่น้อย ไม่คุ้มทุน หรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ หรือทำแล้วไม่มีใครใช้ ก็จะทำให้ Logistics Innovation ที่จะทำการพัฒนาขึ้นมานั้นกลายเป็นต้นทุนราคาแพงไปเสียเปล่า

ไฟล์ประกอบ : Logistics_InnovationICT.pdf
อ่าน : 3410 ครั้ง
วันที่ : 29/10/2009

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com