Supply Chain Technology

เทคโนโลยีโซ่อุปทาน

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

23 กุมภาพันธ์ 2552

 

การที่จะกล่าวถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Supply Chain หรือการจัดการโซ่อุปทาน จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของกระบวนการทางโลจิสติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสาร  ทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับและส่งสินค้าให้ตรงเวลา ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ  กระบวนการเหล่านี้นับวันจะมีความซับซ้อน ทั้งปัจจัยการแข่งขันที่เกิดจากเศรษฐกิจถดถอย และเปิดเสรีทางการค้า กิจกรรมที่ดำเนินอยู่บนโซ่อุปทานโลจิสติกส์ จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับทั้งเชิงต้นทุนและเชิงประสิทธิภาพ  

ภายใต้บริบทของการแข่งขัน โดยธุรกิจสมัยใหม่จะให้ความสำคัญต่อการลดขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า ซึ่งถือเป็นต้นทุนสำคัญของโลจิสติกส์ รวมถึง นวัตกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้า โดยลดพื้นที่และลดขนาดของจำนวนแรงงานซึ่งนับวันจะหายาก ดังนั้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในกระบวนการโซ่อุปทาน จึงเข้ามามีบทบาทต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งมอบและส่งต่อผลิตภัณฑ์จากต้นน้ำจนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้วเมื่อนึกถึงเทคโนโลยีในการส่งมอบสินค้า มักจะเข้าใจเฉพาะสารสนเทศโลจิสติกส์ เช่น ระบบ EDI ebXML ฯลฯ  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการจัดการไหลลื่นของข้อมูลข่าวสารในโซ่อุปทาน สำหรับด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสมัยใหม่ได้แก่ GPS : Global Positioning System “ระบบการติดตามและบริหารรถขนส่งสินค้าผ่านดาวเทียม” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสื่อสารทางดาวเทียมเพื่อการขนส่ง โดยระบบสัญญาณจะผ่านระบบ GPRS : General Packet Radio Service เป็นเทคโนโลยีที่ส่งสัญญาณจาก GPS สู่ศูนย์กลาง โดยผ่านเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเข้าไปในกระบวนการขนส่งสินค้า (Transportation) และการกระจายสินค้า (Cargoes Distribution) เพื่อควบคุมรถขนส่งให้วิ่งในเส้นทาง และตารางเวลาที่กำหนด เพื่อควบคุมเวลาการขนส่งสินค้าถึงจุดหมาย การควบคุมใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำเชื้อเพลิง ชิ้นส่วนต่างๆ, การใช้รถผิดวัตถุประสงค์, การใช้รถโดยสูญเปล่า เช่น การติดเครื่องนอน การออกนอกเส้นทาง การขับรถเร็วเกินกำหนด เป็นต้น   ทั้งนี้ก็เพื่อให้การบริการทันเวลา (JIT : Just In Time Service) และต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้มากที่สุด

" />
       
 

Supply Chain Technology เทคโนโลยีโซ่อุปทาน Share


Supply Chain Technology

เทคโนโลยีโซ่อุปทาน

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

23 กุมภาพันธ์ 2552

 

การที่จะกล่าวถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Supply Chain หรือการจัดการโซ่อุปทาน จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของกระบวนการทางโลจิสติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสาร  ทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับและส่งสินค้าให้ตรงเวลา ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ  กระบวนการเหล่านี้นับวันจะมีความซับซ้อน ทั้งปัจจัยการแข่งขันที่เกิดจากเศรษฐกิจถดถอย และเปิดเสรีทางการค้า กิจกรรมที่ดำเนินอยู่บนโซ่อุปทานโลจิสติกส์ จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับทั้งเชิงต้นทุนและเชิงประสิทธิภาพ  

ภายใต้บริบทของการแข่งขัน โดยธุรกิจสมัยใหม่จะให้ความสำคัญต่อการลดขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า ซึ่งถือเป็นต้นทุนสำคัญของโลจิสติกส์ รวมถึง นวัตกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้า โดยลดพื้นที่และลดขนาดของจำนวนแรงงานซึ่งนับวันจะหายาก ดังนั้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในกระบวนการโซ่อุปทาน จึงเข้ามามีบทบาทต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งมอบและส่งต่อผลิตภัณฑ์จากต้นน้ำจนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้วเมื่อนึกถึงเทคโนโลยีในการส่งมอบสินค้า มักจะเข้าใจเฉพาะสารสนเทศโลจิสติกส์ เช่น ระบบ EDI ebXML ฯลฯ  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการจัดการไหลลื่นของข้อมูลข่าวสารในโซ่อุปทาน สำหรับด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสมัยใหม่ได้แก่ GPS : Global Positioning System “ระบบการติดตามและบริหารรถขนส่งสินค้าผ่านดาวเทียม” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสื่อสารทางดาวเทียมเพื่อการขนส่ง โดยระบบสัญญาณจะผ่านระบบ GPRS : General Packet Radio Service เป็นเทคโนโลยีที่ส่งสัญญาณจาก GPS สู่ศูนย์กลาง โดยผ่านเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงเข้าไปในกระบวนการขนส่งสินค้า (Transportation) และการกระจายสินค้า (Cargoes Distribution) เพื่อควบคุมรถขนส่งให้วิ่งในเส้นทาง และตารางเวลาที่กำหนด เพื่อควบคุมเวลาการขนส่งสินค้าถึงจุดหมาย การควบคุมใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำเชื้อเพลิง ชิ้นส่วนต่างๆ, การใช้รถผิดวัตถุประสงค์, การใช้รถโดยสูญเปล่า เช่น การติดเครื่องนอน การออกนอกเส้นทาง การขับรถเร็วเกินกำหนด เป็นต้น   ทั้งนี้ก็เพื่อให้การบริการทันเวลา (JIT : Just In Time Service) และต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้มากที่สุด


ไฟล์ประกอบ : 014-2009.pdf
อ่าน : 3660 ครั้ง
วันที่ : 25/02/2009

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com