อีสาน..ประตูเศรษฐกิจสู่เส้นทางหมายเลข 9 ไทย-อินโดจีน

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

29/07/08

เส้นทางข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร-สะหวันนะเขต (เส้นทางหมายเลข 9) เส้นทางหลักขนส่งของประเทศในภูมิภาคอินโดจีนที่แท้จริงนั้น พบว่าศักยภาพของทางหมายเลข 9 จะมีความเหมาะสมเพราะเส้นทางนี้ เชื่อมท่าเรือดานังของเวียดนาม-ไทย-พม่า ซึ่งเส้นทางสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงประเทศต่างๆของซีกโลกตะวันออก ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เมืองท่าชายฝั่งทะเลของประเทศจีน เช่น  ปักกิ่ง  เซียงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกและประเทศออสเตรีย โดยใช้ประเทศเวียดนามเป็น Land Bridge เข้าสู่แผ่นดิน  โดยเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านกึ่งกลางของภาคอีสานจากจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดขอนแก่น และพิษณุโลกที่อำเภอวังทอง (ซึ่งจะกลายเป็นสี่แยกอินโดจีน) และเส้นทางนี้จะไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกไปประเทศพม่าที่อ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) เป็นการเชื่อมไปสู่มหาสมุทรอินเดียไปสู่ประเทศต่างๆทางซีกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ผ่านคลอง ซูเอสทะเล          เมอร์ดิเตอร์เรเนียน ไปสู่ยุโรปและประเทศอเมริกาฝั่งตะวันออก เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Infrastructure Logistics) ที่สำคัญของโลกในอนาคต เพราะได้เชื่อมโยงกับเส้นทาง North South Economic Corridor ซึ่งมาจากเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ คือ ตั้งแต่เมืองคุนหมิงในแคว้นยูนานกับประเทศมาเลเซียตอนเหนือและสิงคโปร์ เส้นทางนี้จึงสามารถเชื่อมประชากรของ ASAIN 450 ล้านคนกับประชากรจีน 1,300 ล้านคน หากเส้นทางออกไปถึงเมืองมณีปุระของอินเดีย ก็จะมีประชากรอีก 1,000 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางสายหมายเลข 9 ได้รับความสนใจจากนานาชาติ โดยเส้นทางหมายเลข 9 จากภาคอีสานจะเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆดังนี้

 

" />
       
 

อีสาน..ประตูเศรษฐกิจสู่เส้นทางหมายเลข 9 ไทย-อินโดจีน Share


อีสาน..ประตูเศรษฐกิจสู่เส้นทางหมายเลข 9 ไทย-อินโดจีน

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

29/07/08

เส้นทางข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร-สะหวันนะเขต (เส้นทางหมายเลข 9) เส้นทางหลักขนส่งของประเทศในภูมิภาคอินโดจีนที่แท้จริงนั้น พบว่าศักยภาพของทางหมายเลข 9 จะมีความเหมาะสมเพราะเส้นทางนี้ เชื่อมท่าเรือดานังของเวียดนาม-ไทย-พม่า ซึ่งเส้นทางสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงประเทศต่างๆของซีกโลกตะวันออก ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เมืองท่าชายฝั่งทะเลของประเทศจีน เช่น  ปักกิ่ง  เซียงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกและประเทศออสเตรีย โดยใช้ประเทศเวียดนามเป็น Land Bridge เข้าสู่แผ่นดิน  โดยเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านกึ่งกลางของภาคอีสานจากจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดขอนแก่น และพิษณุโลกที่อำเภอวังทอง (ซึ่งจะกลายเป็นสี่แยกอินโดจีน) และเส้นทางนี้จะไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกไปประเทศพม่าที่อ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) เป็นการเชื่อมไปสู่มหาสมุทรอินเดียไปสู่ประเทศต่างๆทางซีกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ผ่านคลอง ซูเอสทะเล          เมอร์ดิเตอร์เรเนียน ไปสู่ยุโรปและประเทศอเมริกาฝั่งตะวันออก เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Infrastructure Logistics) ที่สำคัญของโลกในอนาคต เพราะได้เชื่อมโยงกับเส้นทาง North South Economic Corridor ซึ่งมาจากเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ คือ ตั้งแต่เมืองคุนหมิงในแคว้นยูนานกับประเทศมาเลเซียตอนเหนือและสิงคโปร์ เส้นทางนี้จึงสามารถเชื่อมประชากรของ ASAIN 450 ล้านคนกับประชากรจีน 1,300 ล้านคน หากเส้นทางออกไปถึงเมืองมณีปุระของอินเดีย ก็จะมีประชากรอีก 1,000 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางสายหมายเลข 9 ได้รับความสนใจจากนานาชาติ โดยเส้นทางหมายเลข 9 จากภาคอีสานจะเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆดังนี้

 


ไฟล์ประกอบ : 175_เพิ่มขีดความสามารถภาคอีสาน.pdf
อ่าน : 2387 ครั้ง
วันที่ : 31/07/2008

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com