East-West Southern Economic Landbridge

สะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลภาคใต้

โดยธนิต  โสรัตน์

รองประธาน และประธานสายงานโลจิสติกส์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

10 มิถุนายน 2551

          Landbridge ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2551 เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ อาจเป็นเพราะ ฯพณฯ สุลต่านอัลเหม็ด บิน ซุลาดิน จากประเทศดูไบมาเปิดประเด็น โดยทาง Dubai World ซึ่งเป็นบรรษัทขนาดใหญ่ของประเทศดูไบ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้มาสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูลและการเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลภาคใต้ของไทย ประเด็นคือว่า Landbridge คืออะไร แลนด์บริดจ์คือ สะพานเศรษฐกิจ แต่จริงๆแล้วไม่มีสะพาน แต่เป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่าเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้านถนน , ทางราง และทางท่อ เพื่อให้ระบบโลจิสติกส์ของชายฝั่งตะวันตก (ฝั่งอันดามัน) และตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) ของภาคใต้จะเชื่อมกันเหมือนเป็นสะพานเชื่อมด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทราบกันดีว่าชายฝั่งตะวันตกก็คือทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นพื้นทะเลต่อเนื่องไปจรดมหาสมุทรดินเดีย ส่วนฝั่งตะวันออก ก็คือ อ่าวไทย ก็จะเชื่อมต่อออกไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งในโลกมีไม่กี่ประเทศที่จะมีพื้นที่ติดกับฝั่งชายฝั่งมหาสมุทรถึง 2 มหาสมุทรเหมือนของประเทศไทย ที่จริงแล้วความคิดในการสร้างสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก ด้วยการขุดคลองกระ เป็นเรื่องที่มีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และเป็นประเด็นที่ได้หยิบยกมาพิจารณาในหลายรัฐบาลในอดีตเป็นเวลา 30-40 ปี คือตั้งแต่สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่ก็ติดขัดไม่สามารถดำเนินการได้

          ทั้งนี้ การขุดคอคอดกระที่ไม่เกิดเพราะมีปัญหามาก ทั้งในเรื่องของการใช้ประโยชน์ , เรื่องของสิ่งแวดล้อมและด้วยความมั่นคง รวมทั้งด้านงบประมาณมหาศาล ตั้งแต่รัฐบาลชวนมีโครงการ Landbridge เชื่อมกระบี่ ขนอม และสุราษฎร์ จึงมีการสร้างถนนเตรียมไว้ เป็นถนนขนาดใหญ่ เชื่อมกระบี่ สุราษฎร์ ขนอม สิชล นครศรีธรรมราช เกาะกลางถนนมีขนาดกว้างร้อยเมตร ซึ่งเตรียมไว้สำหรับการวางท่อน้ำมัน และรถไฟ รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ แต่โครงการก็ยุติตรงแค่ได้ถนน เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลต่อๆมาจึงยังไม่ดำเนินการ อย่างไรก็ดี แนวคิด Southern Landbridge ที่ได้หยิบยกขึ้นมาใหม่จะเป็นโครงการก่อสร้างสะพานเศรษฐกิจเพื่อ “Short Cut” เชื่อมสองชายฝั่ง ซึ่งก็มีการพิจารณาต่อไปอีกว่า ทั้งทางถนนและรถไฟควรจะเป็นระบบลอยฟ้าหรือไม่ เพื่อไม่ให้กระทบต่ออย่างอื่น และต้องมีท่อส่งน้ำมัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการก่อสร้างแลนด์บริดจ์ เพราะส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เรือบรรทุกน้ำมัน จะมาจากฝั่งตะวันตก เพราะแหล่งน้ำมันอยู่ทาง Middle East โดยเรือน้ำมันหากจะเข้าประเทศไทย ต้องอ้อมทางช่องแคบมะละกา หากมีการขนส่งน้ำมันทางท่อจะง่ายและสะดวกขึ้นมาก ซึ่งขณะนี้หากมีการสร้าง Landbridge เชื่อมแล้ว ก็ต้องมีการพิจารณาถึงการสร้างท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่รองรับสินค้า ซึ่งแต่ก่อนทางฝั่งตะวันออกมองไว้ที่ท่าเรือสงขลา แต่ในฝั่งตะวันตกยังไม่แน่ใจว่าจะอยู่ที่ตรงไหน ซึ่งมีตัวเลือกไม่มากเช่นจังหวัดกระบี่ พังงา สตูล พอมาในช่วงนี้จึงมีแนวคิดใหม่โดยโฟกัสไปที่ท่าเรือปากบารา ซึ่งตั้งทางฝั่งตะวันตก ซึ่งหากมีท่าเรือขนาดใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันตก จะต้องมีท่าเรือฝั่งตะวันออกควบคู่ไปด้วย ซึ่งน่าจะเป็นที่จังหวัดสงขลา แต่ก็ต้องพัฒนาหาทำเลที่ตั้งใหม่ ว่าควรจะเป็นที่ใด เพราะท่าเรือสงขลามีตะกอนมากและมีปัญหาสภาพแวดล้อม เดิมก็คิดว่าน่าจะเป็นที่อำเภอจะนะ แต่ปัจจุบันก็เริ่มมีแนวคิดว่าน่าจะเป็นจังหวัดปัตตานี อย่างไรก็ตามเห็นว่า สะพานเศรษฐกิจควรจะเลื่อนลงมาทางใต้เพื่อควบคู่กันระหว่างสตูล (ปากบารา) กับสงขลา น่าจะเหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุด สำหรับแนวชายฝั่งของอำเภอท้ายเหมืองจังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ช่วงผ่านมา 20 ปี พื้นที่ตรงบริเวณที่ศึกษาจะทำท่าเรือ เช่น ท้ายเหมือง , โคกกลอย , ทับละมุ กระบี่ ล้วนกลับกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่รองรับนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับคนพื้นที่ได้มากกว่าที่จะสร้างท่าเรือ แนวคิดจึงควรที่จะขยับลงมาเชื่อมระหว่างสงขลากับสตูล ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร

" />
       
 

East-West Southern Economic Landbridge Share


East-West Southern Economic Landbridge

สะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลภาคใต้

โดยธนิต  โสรัตน์

รองประธาน และประธานสายงานโลจิสติกส์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

10 มิถุนายน 2551

          Landbridge ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2551 เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ อาจเป็นเพราะ ฯพณฯ สุลต่านอัลเหม็ด บิน ซุลาดิน จากประเทศดูไบมาเปิดประเด็น โดยทาง Dubai World ซึ่งเป็นบรรษัทขนาดใหญ่ของประเทศดูไบ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้มาสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูลและการเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลภาคใต้ของไทย ประเด็นคือว่า Landbridge คืออะไร แลนด์บริดจ์คือ สะพานเศรษฐกิจ แต่จริงๆแล้วไม่มีสะพาน แต่เป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่าเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้านถนน , ทางราง และทางท่อ เพื่อให้ระบบโลจิสติกส์ของชายฝั่งตะวันตก (ฝั่งอันดามัน) และตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) ของภาคใต้จะเชื่อมกันเหมือนเป็นสะพานเชื่อมด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทราบกันดีว่าชายฝั่งตะวันตกก็คือทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นพื้นทะเลต่อเนื่องไปจรดมหาสมุทรดินเดีย ส่วนฝั่งตะวันออก ก็คือ อ่าวไทย ก็จะเชื่อมต่อออกไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งในโลกมีไม่กี่ประเทศที่จะมีพื้นที่ติดกับฝั่งชายฝั่งมหาสมุทรถึง 2 มหาสมุทรเหมือนของประเทศไทย ที่จริงแล้วความคิดในการสร้างสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก ด้วยการขุดคลองกระ เป็นเรื่องที่มีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และเป็นประเด็นที่ได้หยิบยกมาพิจารณาในหลายรัฐบาลในอดีตเป็นเวลา 30-40 ปี คือตั้งแต่สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่ก็ติดขัดไม่สามารถดำเนินการได้

          ทั้งนี้ การขุดคอคอดกระที่ไม่เกิดเพราะมีปัญหามาก ทั้งในเรื่องของการใช้ประโยชน์ , เรื่องของสิ่งแวดล้อมและด้วยความมั่นคง รวมทั้งด้านงบประมาณมหาศาล ตั้งแต่รัฐบาลชวนมีโครงการ Landbridge เชื่อมกระบี่ ขนอม และสุราษฎร์ จึงมีการสร้างถนนเตรียมไว้ เป็นถนนขนาดใหญ่ เชื่อมกระบี่ สุราษฎร์ ขนอม สิชล นครศรีธรรมราช เกาะกลางถนนมีขนาดกว้างร้อยเมตร ซึ่งเตรียมไว้สำหรับการวางท่อน้ำมัน และรถไฟ รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ แต่โครงการก็ยุติตรงแค่ได้ถนน เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลต่อๆมาจึงยังไม่ดำเนินการ อย่างไรก็ดี แนวคิด Southern Landbridge ที่ได้หยิบยกขึ้นมาใหม่จะเป็นโครงการก่อสร้างสะพานเศรษฐกิจเพื่อ “Short Cut” เชื่อมสองชายฝั่ง ซึ่งก็มีการพิจารณาต่อไปอีกว่า ทั้งทางถนนและรถไฟควรจะเป็นระบบลอยฟ้าหรือไม่ เพื่อไม่ให้กระทบต่ออย่างอื่น และต้องมีท่อส่งน้ำมัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการก่อสร้างแลนด์บริดจ์ เพราะส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เรือบรรทุกน้ำมัน จะมาจากฝั่งตะวันตก เพราะแหล่งน้ำมันอยู่ทาง Middle East โดยเรือน้ำมันหากจะเข้าประเทศไทย ต้องอ้อมทางช่องแคบมะละกา หากมีการขนส่งน้ำมันทางท่อจะง่ายและสะดวกขึ้นมาก ซึ่งขณะนี้หากมีการสร้าง Landbridge เชื่อมแล้ว ก็ต้องมีการพิจารณาถึงการสร้างท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่รองรับสินค้า ซึ่งแต่ก่อนทางฝั่งตะวันออกมองไว้ที่ท่าเรือสงขลา แต่ในฝั่งตะวันตกยังไม่แน่ใจว่าจะอยู่ที่ตรงไหน ซึ่งมีตัวเลือกไม่มากเช่นจังหวัดกระบี่ พังงา สตูล พอมาในช่วงนี้จึงมีแนวคิดใหม่โดยโฟกัสไปที่ท่าเรือปากบารา ซึ่งตั้งทางฝั่งตะวันตก ซึ่งหากมีท่าเรือขนาดใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันตก จะต้องมีท่าเรือฝั่งตะวันออกควบคู่ไปด้วย ซึ่งน่าจะเป็นที่จังหวัดสงขลา แต่ก็ต้องพัฒนาหาทำเลที่ตั้งใหม่ ว่าควรจะเป็นที่ใด เพราะท่าเรือสงขลามีตะกอนมากและมีปัญหาสภาพแวดล้อม เดิมก็คิดว่าน่าจะเป็นที่อำเภอจะนะ แต่ปัจจุบันก็เริ่มมีแนวคิดว่าน่าจะเป็นจังหวัดปัตตานี อย่างไรก็ตามเห็นว่า สะพานเศรษฐกิจควรจะเลื่อนลงมาทางใต้เพื่อควบคู่กันระหว่างสตูล (ปากบารา) กับสงขลา น่าจะเหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุด สำหรับแนวชายฝั่งของอำเภอท้ายเหมืองจังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ช่วงผ่านมา 20 ปี พื้นที่ตรงบริเวณที่ศึกษาจะทำท่าเรือ เช่น ท้ายเหมือง , โคกกลอย , ทับละมุ กระบี่ ล้วนกลับกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่รองรับนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับคนพื้นที่ได้มากกว่าที่จะสร้างท่าเรือ แนวคิดจึงควรที่จะขยับลงมาเชื่อมระหว่างสงขลากับสตูล ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร


ไฟล์ประกอบ : 162_Landbridge.pdf
อ่าน : 3525 ครั้ง
วันที่ : 07/06/2008

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com