2 ปี...เศรษฐกิจภายใต้รัฐบาล คสช. (ตอน 1)

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่  9 พฤษภาคม 2559

           

            อีก 2 สัปดาห์จะครบรอบ 2 ปี นับตั้งแต่ คสช.นำโดยท่านนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาแก้วิกฤติการเมืองซึ่งตกร่อง ตกเหวอยู่หลายปี ผมขออนุญาตใช้เนื้อที่คอลัมน์นี้เป็นซีรีย์ 3 ตอน ลำดับเหตุการณ์เศรษฐกิจตั้งแต่วันที่คสช. เข้ามาเผื่อบางท่านอาจหลงลืมจะได้ฟื้นความจำในแต่ละช่วงลำดับเศรษฐกิจว่ารัฐบาล คสช.เข้ามาแก้ไขอะไรบ้าง และผลลัพธ์จนถึงปัจจุบันภาพรวมเศรษฐกิจ การค้าขาย การลงทุน และความเชื่อมั่นดีกว่าหรือแย่กว่าเดิม

            จำได้ไหมครับ ?ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 สภาพบ้านเมืองของเราขณะนั้น ทั้งกปปส.และนปช.ระดมพลเอาประเทศไทยเป็นเวทีประลองยุทธ์ ต่างฝ่ายมีกองหน้าจำนวนมาก มีสื่อมวลชนของตนเอง มีกลุ่มสนับสนุนเป็นกองหลัง ทั้งนายทุน นักการเมือง ทหารใหญ่ๆ ข้าราชการ รวมทั้งพระสงฆ์องค์เจ้า ต่างฝ่ายต่างแบ่งขั้วแบ่งสีถึงขั้นจราจล เป็นกึ่งสงครามกลางเมือง บาดเจ็บล้มตายเกือบพันคน ช่วงแรกทั้งทหาร ตำรวจ เข้าปราบปรามอย่างเต็มที่ ทำได้2-3วัน กลับเข้ากรมกองอยู่นิ่งๆ บ้านเมืองเป็นอนาธิปไตย

            ด้านเศรษฐกิจ การค้าขาย การท่องเที่ยว ในช่วงนั้นคงไม่ต้องกล่าวถึงกลายเป็นอัมพาต ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณติดขัด แม้แต่เงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าข้าวซึ่งรับจำนำจากเกษตรกรชาวนาหลายล้านคน ไม่สามารถจ่ายเงินได้ สถานการณ์ลุกลามจนถึงขั้น ?นายกฯปู? ซึ่งเป็นรัฐบาลขณะนั้นต้องลาออก แถมการจัดการเลือกตั้งถูกขัดขวางจนไม่สามารถมีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ บ้านเมืองขาดรัฐบาลอยู่หลายเดือน ทางออกของประเทศแทบมองไม่เห็นว่าจะผ่านพ้นจากวิกฤติการเมืองซึ่งเลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมี

            และแล้ว... สถานการณ์การเมืองมาถึงจุดสุกงอมเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 คสช.ในภาพลักษณ์ของ ?อัศวินขี่ม้าขาว? ตามตำนานการเมืองคลาสสิคของไทยก็ออกมาพร้อมกับเพลงมาร์ชกองทัพไทย ไม่น่าเชื่อวิกฤติการเมืองที่เลวร้ายทำให้บ้านเมืองวุ่นวายมาหลายปี เจอยาแรงเข้าเข็มเดียว อันตรธานหายไปภายในข้ามคืนพร้อมกับได้รัฐบาลทหารเข้ามาบริหารประเทศ

            ในด้านเศรษฐกิจไม่เกี่ยวข้องกับคอการเมืองหรือนักประชาธิปไตยส่วนใหญ่คลายความกังวลเห็นได้จากสถาบันเอกชนดังๆ ล้วนออกมาสนับสนุนแทนผู้นำองค์กรเข้าไปช่วยงานคสช. ทั้งการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ขณะที่นักการเมืองดังๆ รวมถึงนักธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ไม่เว้นแม้แต่นายแบงค์ ต่างเข้าไปร่วมงานกับคสช. แสดงว่าที่ผ่านมาพลังเงียบเหล่านี้เหลืออดเหลือทนเต็มที่

            อย่างไรก็ตาม ?ช่วงเวลาฮันนีมูนของคสช.สั้นมาก เพราะประชาชนคาดหวังไว้สูง อีกทั้งการเข้ามาด้วยวิธีไม่ปกติถือเป็นต้นทุนของประเทศ? ภาคเอกชนอยากให้รัฐบาลเข้าไปผลักดันกระตุ้นเศรษฐกิจแบบแรงๆ ขณะที่ผลผลิตด้านการเกษตรราคาตกต่ำ เกษตรกรต้องการให้เข้าไปช่วยทั้งด้านเยียวยาและด้านราคา แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลยังกระอักกระอวนกับแนวทางประชานิยม อีกทั้งมือไม้ของระบบราชการในช่วงนั้นใส่เกียร์ว่าง ทำให้เงินไม่ลงไปถึงประชาชน แต่ในปี 2557 ต้องยอมรับว่ารัฐบาลคสช.เข้ามาแก้ให้เศรษฐกิจซึ่งดิ่งเหวให้สามารถตะกายขึ้นมาเกาะปากเหวได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาของประเทศหมักหมม สะสมไว้มากมาย เข้ามาแล้วถอยกลับไม่ได้...เดินหน้าลูกเดียวนะครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************

" />
       
 

2 ปี...เศรษฐกิจภายใต้รัฐบาล คสช. (ตอน 1) Share


2 ปี...เศรษฐกิจภายใต้รัฐบาล คสช. (ตอน 1)

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่  9 พฤษภาคม 2559

           

            อีก 2 สัปดาห์จะครบรอบ 2 ปี นับตั้งแต่ คสช.นำโดยท่านนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาแก้วิกฤติการเมืองซึ่งตกร่อง ตกเหวอยู่หลายปี ผมขออนุญาตใช้เนื้อที่คอลัมน์นี้เป็นซีรีย์ 3 ตอน ลำดับเหตุการณ์เศรษฐกิจตั้งแต่วันที่คสช. เข้ามาเผื่อบางท่านอาจหลงลืมจะได้ฟื้นความจำในแต่ละช่วงลำดับเศรษฐกิจว่ารัฐบาล คสช.เข้ามาแก้ไขอะไรบ้าง และผลลัพธ์จนถึงปัจจุบันภาพรวมเศรษฐกิจ การค้าขาย การลงทุน และความเชื่อมั่นดีกว่าหรือแย่กว่าเดิม

            จำได้ไหมครับ ?ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 สภาพบ้านเมืองของเราขณะนั้น ทั้งกปปส.และนปช.ระดมพลเอาประเทศไทยเป็นเวทีประลองยุทธ์ ต่างฝ่ายมีกองหน้าจำนวนมาก มีสื่อมวลชนของตนเอง มีกลุ่มสนับสนุนเป็นกองหลัง ทั้งนายทุน นักการเมือง ทหารใหญ่ๆ ข้าราชการ รวมทั้งพระสงฆ์องค์เจ้า ต่างฝ่ายต่างแบ่งขั้วแบ่งสีถึงขั้นจราจล เป็นกึ่งสงครามกลางเมือง บาดเจ็บล้มตายเกือบพันคน ช่วงแรกทั้งทหาร ตำรวจ เข้าปราบปรามอย่างเต็มที่ ทำได้2-3วัน กลับเข้ากรมกองอยู่นิ่งๆ บ้านเมืองเป็นอนาธิปไตย

            ด้านเศรษฐกิจ การค้าขาย การท่องเที่ยว ในช่วงนั้นคงไม่ต้องกล่าวถึงกลายเป็นอัมพาต ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณติดขัด แม้แต่เงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าข้าวซึ่งรับจำนำจากเกษตรกรชาวนาหลายล้านคน ไม่สามารถจ่ายเงินได้ สถานการณ์ลุกลามจนถึงขั้น ?นายกฯปู? ซึ่งเป็นรัฐบาลขณะนั้นต้องลาออก แถมการจัดการเลือกตั้งถูกขัดขวางจนไม่สามารถมีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ บ้านเมืองขาดรัฐบาลอยู่หลายเดือน ทางออกของประเทศแทบมองไม่เห็นว่าจะผ่านพ้นจากวิกฤติการเมืองซึ่งเลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมี

            และแล้ว... สถานการณ์การเมืองมาถึงจุดสุกงอมเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 คสช.ในภาพลักษณ์ของ ?อัศวินขี่ม้าขาว? ตามตำนานการเมืองคลาสสิคของไทยก็ออกมาพร้อมกับเพลงมาร์ชกองทัพไทย ไม่น่าเชื่อวิกฤติการเมืองที่เลวร้ายทำให้บ้านเมืองวุ่นวายมาหลายปี เจอยาแรงเข้าเข็มเดียว อันตรธานหายไปภายในข้ามคืนพร้อมกับได้รัฐบาลทหารเข้ามาบริหารประเทศ

            ในด้านเศรษฐกิจไม่เกี่ยวข้องกับคอการเมืองหรือนักประชาธิปไตยส่วนใหญ่คลายความกังวลเห็นได้จากสถาบันเอกชนดังๆ ล้วนออกมาสนับสนุนแทนผู้นำองค์กรเข้าไปช่วยงานคสช. ทั้งการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ขณะที่นักการเมืองดังๆ รวมถึงนักธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ไม่เว้นแม้แต่นายแบงค์ ต่างเข้าไปร่วมงานกับคสช. แสดงว่าที่ผ่านมาพลังเงียบเหล่านี้เหลืออดเหลือทนเต็มที่

            อย่างไรก็ตาม ?ช่วงเวลาฮันนีมูนของคสช.สั้นมาก เพราะประชาชนคาดหวังไว้สูง อีกทั้งการเข้ามาด้วยวิธีไม่ปกติถือเป็นต้นทุนของประเทศ? ภาคเอกชนอยากให้รัฐบาลเข้าไปผลักดันกระตุ้นเศรษฐกิจแบบแรงๆ ขณะที่ผลผลิตด้านการเกษตรราคาตกต่ำ เกษตรกรต้องการให้เข้าไปช่วยทั้งด้านเยียวยาและด้านราคา แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลยังกระอักกระอวนกับแนวทางประชานิยม อีกทั้งมือไม้ของระบบราชการในช่วงนั้นใส่เกียร์ว่าง ทำให้เงินไม่ลงไปถึงประชาชน แต่ในปี 2557 ต้องยอมรับว่ารัฐบาลคสช.เข้ามาแก้ให้เศรษฐกิจซึ่งดิ่งเหวให้สามารถตะกายขึ้นมาเกาะปากเหวได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาของประเทศหมักหมม สะสมไว้มากมาย เข้ามาแล้วถอยกลับไม่ได้...เดินหน้าลูกเดียวนะครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************


ไฟล์ประกอบ : 2 ปี...เศรษฐกิจภายใต้รัฐบาล คสช. (ตอน 1) .doc
อ่าน : 1336 ครั้ง
วันที่ : 10/05/2016

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com