ปฏิรูปแรงงานไทยสู่มติใหม่

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่  29 เมษายน 2559

           

            วันแรงงานแห่งชาติซึ่งพึ่งผ่านพ้นไปเป็นธรรมเนียมทุกครั้งที่ภาคผู้ใช้แรงงานจะต้องมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาล ปีนี้ยื่นข้อเรียกร้องขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 360 บาท แถมพ่วงขอให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาการแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อีกทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบและยังมีข้อเรียกร้องต่างๆ นัยว่าเพื่อให้แรงงานพ้นจากการถูกรังแกหรือถูกกดขี่จากนายจ้าง

            ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่ากำลังแรงงานซึ่งมีงานทำ จำนวนประมาณ 38.37 ล้านคน ไม่ใช่มีอยู่แต่ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีแรงงานคิดเป็นสัดส่วน 16.7% หรือมีผู้ใช้แรงงานอยู่ประมาณ 6.54 ล้านคน แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรและภาคบริการทั้งค้าปลีก-ส่ง-ก่อสร้าง-ท่องเที่ยว-โลจิสติกส์-สาธารณสุข-สถาบันการเงิน ฯลฯ ขณะที่รัฐวิสาหกิจมีแรงงานไม่มาก และยังมีแรงงานอิสระนอกระบบอีกประมาณ 3.38 ล้านคน

            ที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อให้เห็นว่าโครงสร้างแรงงานกระจายอยู่ในหลายภาคส่วน ข้อเรียกร้องต่างๆต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อแรงงานทั้งระบบ ซึ่งส่วนใหญ่จำนวนมากไม่ได้อยู่ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแรงงานรับจ้างในภาคเกษตรและแรงงานในภาคบริการ ซึ่งลักษณะงานมีความแตกต่างจากภาคการผลิต เช่น แรงงานประมง แรงงานในสวน-ไร่-นา แรงงานขนส่ง ฯลฯ พวกนี้จะไปกะเกณฑ์ให้ทำงานแบบแรงงานในอุตสาหกรรมหรือสำนักงานคงไม่ได้

            ในทศวรรษใหม่ที่จะไปสู่ปี 2560 แนวโน้มเศรษฐกิจของโลกจะมีการเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี  ซึ่งกำลังยกระดับให้มีความเข้มข้นในการเปิดตลาดการค้า-การลงทุนและเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี อีกทั้งการเข้าสู่กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นการค้าเสรีภายใต้ข้อตกลง FTAหรือการเข้าสู่ ?ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก? หรือ TPP กรอบความร่วมมือของตกลงการค้าเหล่านี้จะทำให้เกิดแผนที่ใหม่ด้านเศรษฐกิจและการลงทุนหรือพูดให้ง่ายก็คือประเทศใดต้นทุนต่ำ มีปัจจัยเอื้อการลงทุนที่ดีกว่าก็จะย้ายฐานการผลิต

            ดังนั้นภาคแรงงานคงต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ทั้งด้านการเสริมสร้างทักษะ ใฝ่รู้ พัฒนาผลิตภาพแรงงานของตนเองให้เด่นชัด ขณะที่แรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบต้องเตรียมความพร้อมการทำงานเป็นอาชีพ ต้องตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จในอาชีพ เพราะที่สุดก็ต้องมีครอบครัว พ่อ-แม่คงเลี้ยงดูไม่ได้ตลอด อย่าเปลี่ยนงานบ่อยเพื่อความสนุกเอาไว้แชทกับเพื่อนๆ แรงงงานในอนาคตจะเข้าสู่มติใหม่ในการยกระดับคุณภาพการทำงานจะมั่วแต่เรียกร้องค่าจ้างทำงานไปวันๆ โดยไม่คิดจะปรับปรุงพัฒนาตนเองเพื่อมีรายได้ที่สูงขึ้น หากประเทศไทยไม่สามารถหลุดจากกับดักเช่นนี้ได้ ก็น่าเป็นห่วงอนาคตของประเทศว่าจะแข่งขันกับใครได้

             ทั้งนี้การปฏิรูปขับเคลื่อนแรงงานภายใต้มติและบริบทใหม่คงต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน โดยต้องเริ่มจากกระทรวงแรงงานต้องยกเครื่องเปลี่ยนจากบทบาทที่เน้นด้านสังคมไปสู่กระทรวงเศรษฐกิจ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่องค์กรเกี่ยวกับแรงงานคงต้องมองอนาคตว่าทิศทางของแรงงานจะพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร....จริงไหมครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************

" />
       
 

ปฏิรูปแรงงานไทยสู่มติใหม่ Share


ปฏิรูปแรงงานไทยสู่มติใหม่

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่  29 เมษายน 2559

           

            วันแรงงานแห่งชาติซึ่งพึ่งผ่านพ้นไปเป็นธรรมเนียมทุกครั้งที่ภาคผู้ใช้แรงงานจะต้องมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาล ปีนี้ยื่นข้อเรียกร้องขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 360 บาท แถมพ่วงขอให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาการแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อีกทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบและยังมีข้อเรียกร้องต่างๆ นัยว่าเพื่อให้แรงงานพ้นจากการถูกรังแกหรือถูกกดขี่จากนายจ้าง

            ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่ากำลังแรงงานซึ่งมีงานทำ จำนวนประมาณ 38.37 ล้านคน ไม่ใช่มีอยู่แต่ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีแรงงานคิดเป็นสัดส่วน 16.7% หรือมีผู้ใช้แรงงานอยู่ประมาณ 6.54 ล้านคน แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรและภาคบริการทั้งค้าปลีก-ส่ง-ก่อสร้าง-ท่องเที่ยว-โลจิสติกส์-สาธารณสุข-สถาบันการเงิน ฯลฯ ขณะที่รัฐวิสาหกิจมีแรงงานไม่มาก และยังมีแรงงานอิสระนอกระบบอีกประมาณ 3.38 ล้านคน

            ที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อให้เห็นว่าโครงสร้างแรงงานกระจายอยู่ในหลายภาคส่วน ข้อเรียกร้องต่างๆต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อแรงงานทั้งระบบ ซึ่งส่วนใหญ่จำนวนมากไม่ได้อยู่ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแรงงานรับจ้างในภาคเกษตรและแรงงานในภาคบริการ ซึ่งลักษณะงานมีความแตกต่างจากภาคการผลิต เช่น แรงงานประมง แรงงานในสวน-ไร่-นา แรงงานขนส่ง ฯลฯ พวกนี้จะไปกะเกณฑ์ให้ทำงานแบบแรงงานในอุตสาหกรรมหรือสำนักงานคงไม่ได้

            ในทศวรรษใหม่ที่จะไปสู่ปี 2560 แนวโน้มเศรษฐกิจของโลกจะมีการเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี  ซึ่งกำลังยกระดับให้มีความเข้มข้นในการเปิดตลาดการค้า-การลงทุนและเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี อีกทั้งการเข้าสู่กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นการค้าเสรีภายใต้ข้อตกลง FTAหรือการเข้าสู่ ?ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก? หรือ TPP กรอบความร่วมมือของตกลงการค้าเหล่านี้จะทำให้เกิดแผนที่ใหม่ด้านเศรษฐกิจและการลงทุนหรือพูดให้ง่ายก็คือประเทศใดต้นทุนต่ำ มีปัจจัยเอื้อการลงทุนที่ดีกว่าก็จะย้ายฐานการผลิต

            ดังนั้นภาคแรงงานคงต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ทั้งด้านการเสริมสร้างทักษะ ใฝ่รู้ พัฒนาผลิตภาพแรงงานของตนเองให้เด่นชัด ขณะที่แรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบต้องเตรียมความพร้อมการทำงานเป็นอาชีพ ต้องตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จในอาชีพ เพราะที่สุดก็ต้องมีครอบครัว พ่อ-แม่คงเลี้ยงดูไม่ได้ตลอด อย่าเปลี่ยนงานบ่อยเพื่อความสนุกเอาไว้แชทกับเพื่อนๆ แรงงงานในอนาคตจะเข้าสู่มติใหม่ในการยกระดับคุณภาพการทำงานจะมั่วแต่เรียกร้องค่าจ้างทำงานไปวันๆ โดยไม่คิดจะปรับปรุงพัฒนาตนเองเพื่อมีรายได้ที่สูงขึ้น หากประเทศไทยไม่สามารถหลุดจากกับดักเช่นนี้ได้ ก็น่าเป็นห่วงอนาคตของประเทศว่าจะแข่งขันกับใครได้

             ทั้งนี้การปฏิรูปขับเคลื่อนแรงงานภายใต้มติและบริบทใหม่คงต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน โดยต้องเริ่มจากกระทรวงแรงงานต้องยกเครื่องเปลี่ยนจากบทบาทที่เน้นด้านสังคมไปสู่กระทรวงเศรษฐกิจ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่องค์กรเกี่ยวกับแรงงานคงต้องมองอนาคตว่าทิศทางของแรงงานจะพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร....จริงไหมครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************


ไฟล์ประกอบ : ปฏิรูปแรงงานไทยสู่มติใหม่.doc
อ่าน : 1424 ครั้ง
วันที่ : 03/05/2016

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com