ประเทศไทยจะเดินไปทางไหน?

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่  25 เมษายน 2559

           

            เศรษฐกิจโลกซึ่งชะลอตัวและดูท่าทีว่าคงไม่ได้ฟื้นตัวได้ง่ายๆ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยซึ่งซึมยาวกลายเป็นหวัดอ่อนๆเรื้อรังมาหลายปี คำถามว่าส่งออกไทยซึ่งถดถอยเกิดจากเศรษฐกิจโลกเพียงอย่างเดียวหรือเกิดจากปัจจัยภายใน การแก้ปัญหาแบบหยิบโหย่งมีแต่ทฤษฏีซึ่งปฏิบัติไม่ได้ หรือมีศัพท์แสงโก้หรูฟังแล้วเท่ห์ แต่ไม่รู้ว่าจะขับเคลื่อนเอสเอ็มอีซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการมากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ ว่าจะให้เขาเดินไปได้อย่างไร

            การแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากนี้ไปควรมีความเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับสภาวะที่เป็นจริง กลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพที่จะเป็นหัวขบวนก็คงต้องขับเคลื่อนไปแบบหนึ่ง จะใส่นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีแบบก้าวหน้า รวมถึงจะเป็นอุตสาหกรรมด้วยปัญญา (Creative Industry) หรือจะส่งเสริมประเภทซุปเปอร์คลัสเตอร์ก็ว่ากันไป แต่ต้องเข้าใจว่ามีกลุ่มที่จะเดินไปในแนวทางนี้คงมีไม่มากแต่ก็คงต้องเดินหน้าขับเคลื่อน

            อย่างไรก็ตามผู้รับผิดชอบด้านนโยบายของประเทศคงต้องหันกลับไปดูท้ายขบวนหรือท้ายแถวว่าไล่ตามทันหรือไม่ เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก ขนาดย่อม เกษตรกรรายย่อย ซึ่งกลุ่มเหล่านี้คงไม่สามารถเข้าถึงสิ่งที่กำลังจะพาพวกเขาไป กลายเป็นพวกตกขบวนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ตัวชี้วัดความสำเร็จเป็นเรื่องหนึ่ง เพราะเมืองไทยเศรษฐกิจอยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ไม่เกิน 20 กลุ่ม รายได้กินจีดีพีของประเทศไปกว่าครึ่ง ดังนั้นแผนการขับเคลื่อนประเทศจึงต้องใช้วิธีที่แตกต่างจะใช้วิธีแกะกล่องหรือดึงจากตำราจัดการสมัยใหม่มาใช้ทุกบรรทัดคงเป็นไปไม่ได้

            อย่างไรก็ดีต้องเข้าใจว่าโลกวันนี้อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่มีมาก่อน ยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งกระโดดข้ามไปสู่ ?เศรษฐกิจดิจิตอล? ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เห็นจากการแย่งคลื่น 4G ประมูลกัน 7-8 หมื่นล้านหน้าตาเฉย แสดงให้เห็นถึงทิศทางว่าคงจะหลบหนี หลบภัย คลุมโป่ง ไม่รับรู้อยู่แต่ในบ้านคงเป็นไปไม่ได้ เกี่ยวข้องกับทั้งผู้ประกอบการธุรกิจ-อุตสาหกรรม ซึ่งช่องทางจำหน่ายยิ่งวันก็ยิ่งซับซ้อนเข้าถึงยาก ไม่เชื่อก็ลองเอาสินค้าไปเสนอ วางขาย ในห้างใหญ่ๆหรือร้านสะดวกซื้อซึ่งมีให้เลือกไม่กี่เครือข่าย  ขณะที่สินค้าเกษตรไม่ว่าข้าว ยาง มัน อ้อย ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่นำไปส่งออก ราคาจึงต้องแข่งขันกับประเทศที่มีศักยภาพที่เหนือกว่า ซึ่งปัจจุบันทั้งเวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ มีศักยภาพการแข่งขันที่เหนือกว่าไทย อีกทั้งสินค้าเกษตรเกี่ยวข้องกับการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้า ขณะที่เกษตรกรยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

            ประเทศไทยเดินมาถึงทางแยกว่าจะเดินไปในทิศทางของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งทุกอย่างจะไม่เหมือนเดิม อุตสาหกรรมบางกลุ่มอาจหาที่ยืนในประเทศได้ยาก ขณะที่สินค้าเกษตรซึ่งถูกอุ้มด้านราคามาโดยตลอด จนเกษตรกรง่อยเปลี้ยพึ่งพาตนเองไม่ได้ ในอนาคตจะแบกจะอุ้มกันได้นานเพียงใด ผมเขียนติ่งได้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะผ่านพ้นแก้ไขได้อย่างไร เอาว่าช่วงนี้สาละวนกับเรื่องรัฐธรรมนูญจะ Yes หรือ NO อย่าเที่ยวไปตะโกนบอกใคร แค่กระซิบเบาๆ....ก็พอนะครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

" />
       
 

ประเทศไทยจะเดินไปทางไหน? Share


ประเทศไทยจะเดินไปทางไหน?

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่  25 เมษายน 2559

           

            เศรษฐกิจโลกซึ่งชะลอตัวและดูท่าทีว่าคงไม่ได้ฟื้นตัวได้ง่ายๆ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยซึ่งซึมยาวกลายเป็นหวัดอ่อนๆเรื้อรังมาหลายปี คำถามว่าส่งออกไทยซึ่งถดถอยเกิดจากเศรษฐกิจโลกเพียงอย่างเดียวหรือเกิดจากปัจจัยภายใน การแก้ปัญหาแบบหยิบโหย่งมีแต่ทฤษฏีซึ่งปฏิบัติไม่ได้ หรือมีศัพท์แสงโก้หรูฟังแล้วเท่ห์ แต่ไม่รู้ว่าจะขับเคลื่อนเอสเอ็มอีซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการมากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ ว่าจะให้เขาเดินไปได้อย่างไร

            การแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากนี้ไปควรมีความเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับสภาวะที่เป็นจริง กลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพที่จะเป็นหัวขบวนก็คงต้องขับเคลื่อนไปแบบหนึ่ง จะใส่นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีแบบก้าวหน้า รวมถึงจะเป็นอุตสาหกรรมด้วยปัญญา (Creative Industry) หรือจะส่งเสริมประเภทซุปเปอร์คลัสเตอร์ก็ว่ากันไป แต่ต้องเข้าใจว่ามีกลุ่มที่จะเดินไปในแนวทางนี้คงมีไม่มากแต่ก็คงต้องเดินหน้าขับเคลื่อน

            อย่างไรก็ตามผู้รับผิดชอบด้านนโยบายของประเทศคงต้องหันกลับไปดูท้ายขบวนหรือท้ายแถวว่าไล่ตามทันหรือไม่ เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก ขนาดย่อม เกษตรกรรายย่อย ซึ่งกลุ่มเหล่านี้คงไม่สามารถเข้าถึงสิ่งที่กำลังจะพาพวกเขาไป กลายเป็นพวกตกขบวนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ตัวชี้วัดความสำเร็จเป็นเรื่องหนึ่ง เพราะเมืองไทยเศรษฐกิจอยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ไม่เกิน 20 กลุ่ม รายได้กินจีดีพีของประเทศไปกว่าครึ่ง ดังนั้นแผนการขับเคลื่อนประเทศจึงต้องใช้วิธีที่แตกต่างจะใช้วิธีแกะกล่องหรือดึงจากตำราจัดการสมัยใหม่มาใช้ทุกบรรทัดคงเป็นไปไม่ได้

            อย่างไรก็ดีต้องเข้าใจว่าโลกวันนี้อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่มีมาก่อน ยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งกระโดดข้ามไปสู่ ?เศรษฐกิจดิจิตอล? ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เห็นจากการแย่งคลื่น 4G ประมูลกัน 7-8 หมื่นล้านหน้าตาเฉย แสดงให้เห็นถึงทิศทางว่าคงจะหลบหนี หลบภัย คลุมโป่ง ไม่รับรู้อยู่แต่ในบ้านคงเป็นไปไม่ได้ เกี่ยวข้องกับทั้งผู้ประกอบการธุรกิจ-อุตสาหกรรม ซึ่งช่องทางจำหน่ายยิ่งวันก็ยิ่งซับซ้อนเข้าถึงยาก ไม่เชื่อก็ลองเอาสินค้าไปเสนอ วางขาย ในห้างใหญ่ๆหรือร้านสะดวกซื้อซึ่งมีให้เลือกไม่กี่เครือข่าย  ขณะที่สินค้าเกษตรไม่ว่าข้าว ยาง มัน อ้อย ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่นำไปส่งออก ราคาจึงต้องแข่งขันกับประเทศที่มีศักยภาพที่เหนือกว่า ซึ่งปัจจุบันทั้งเวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ มีศักยภาพการแข่งขันที่เหนือกว่าไทย อีกทั้งสินค้าเกษตรเกี่ยวข้องกับการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้า ขณะที่เกษตรกรยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

            ประเทศไทยเดินมาถึงทางแยกว่าจะเดินไปในทิศทางของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งทุกอย่างจะไม่เหมือนเดิม อุตสาหกรรมบางกลุ่มอาจหาที่ยืนในประเทศได้ยาก ขณะที่สินค้าเกษตรซึ่งถูกอุ้มด้านราคามาโดยตลอด จนเกษตรกรง่อยเปลี้ยพึ่งพาตนเองไม่ได้ ในอนาคตจะแบกจะอุ้มกันได้นานเพียงใด ผมเขียนติ่งได้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะผ่านพ้นแก้ไขได้อย่างไร เอาว่าช่วงนี้สาละวนกับเรื่องรัฐธรรมนูญจะ Yes หรือ NO อย่าเที่ยวไปตะโกนบอกใคร แค่กระซิบเบาๆ....ก็พอนะครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)


ไฟล์ประกอบ : ประเทศไทยจะเดินไปทางไหน.doc
อ่าน : 1484 ครั้ง
วันที่ : 26/04/2016

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com