เศรษฐกิจไทย...ในสายต่างชาติ

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่ 4 เมษายน 2559

           

            ไตรมาสแรกของปี 2559 ได้ผ่านพ้นไป พร้อมกับการได้รับรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. ซึ่งในเดือนสิงหาคมจะมีการทำประชามติ โดยรัฐบาลมั่นใจว่าจะสามารถเลือกตั้งได้อย่างแน่นอนในกลางปีหน้า ในด้านเศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยบวก อีกทั้งในเดือนผ่านมากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชีย (ADB) ต่างประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเป็นบวกที่ระดับ 3.0% ขณะที่สำนักจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ทั้ง S&P และ JCR ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่น ให้เครดิตความเชื่อถือประเทศไทยในระดับที่มีเสถียรภาพ

            เหตุผลสำคัญมาจากเสถียรภาพทางการเมืองมีความมั่นคง ในด้านเศรษฐกิจถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก แต่ภาคเอกชนไทยสามารถรับมือได้ในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ความน่าเชื่อถือที่เป็นบวกมาจากสภาพคล่อง ถึงแม้หนี้ครัวเรือนจะอยู่ในระดับที่ต้องเฝ้าระวัง แต่ด้านหนี้เสียหรือ NPL ของสถาบันการเงินยังอยู่ในเกณฑ์รับความเสี่ยงได้ อีกทั้งเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับที่ปลอดภัยคิดเป็น 3 เท่าของหนี้ต่างประเทศ

            อย่างไรก็ตามอย่าไปหลงประเด็นว่าเศรษฐกิจไทยจะหลุดพ้นจากวิกฤต เพราะพึ่งพิงการส่งออกในระดับสูง เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาตัวเลขขยายตัวเป็นบวก 10.27% แต่หากหักส่งออกทองคำและตัวเลขผิดปรกติของการส่งออกอัญมณีฯ ส่งออกเดือนกุมภาพันธ์อาจติดลบ ที่กล่าวเช่นนี้เพราะอุตสาหกรรมส่งออกสิบอันดับแรก พบว่า 9 ใน 10 ล้วนติดลบทั้งสิ้น

             ด้านการนำเข้าตัวเลขเดือนกุมภาพันธ์ยังคงถดถอยติดลบ -14.54% เป็นการถดถอยต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 3 โดยเฉพาะเป็นการถดถอยในสินค้าประเภทเครื่องจักรและวัตถุดิบ เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการลงทุนเอกชนในครึ่งปีแรกอาจขยายตัวได้ไม่มากนัก ขณะที่ภาคการบริโภคภายในประเทศที่หวังจะให้ขับเคลื่อนแทนภาคส่งออก ตัวเลขไตรมาสแรกเงินเฟ้อต่ำกว่าที่ประเมิน โดยเงินเฟ้อขยายตัว -0.5% สะท้อนถึงกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลงจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อีกทั้งการส่งออกสินค้าเกษตรเดือนกุมภาพันธ์ ติดลบ -7.34% และปัญหาภัยแล้งซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดการบริโภคไม่ให้เติบโต

            จากที่กล่าวมานี้ถึงแม้ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจออกมาไม่ค่อยจะสู้ดี แต่ต่างชาติยังคงเชื่อมั่นเพราะในเวลานี้ทุกประเทศต่างอยู่ในสภาวะยากลำบาก แม้แต่ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป หนี้ภาคประชาชนและหนี้รัฐบาลบานเบอะ ถึงแม้จะอัดเม็ดเงินลงไปมหาศาล แต่เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยังไม่มีท่าทีฟื้นตัวได้ง่ายๆ เห็นได้จากการปรับตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนถูกปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น

            สำหรับประเทศไทยจีดีพีหรืออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจคงหนีไม่พ้นถูกปรับให้ลดลง ซึ่งก่อนหน้านี้คาดว่าจะขยายตัว 3.5% ทั้ง ไอเอ็มเอฟ และธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชีย ได้ปรับลดลงเหลือ 3.0% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกและอาเซียน

            ดังนั้นอย่าไปดีอกดีใจกับตัวเลขการเติบโตในระดับนี้ เพราะที่ผ่านมา 2-3ปี ตัวเลขเศรษฐกิจไทยมักถูกปรับลดหลายครั้ง สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินโลกยังมีความไม่แน่นอน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มี หากไม่ใช้ต้องนี้จะไปใช้ตอนไหน มีอะไรงัดออกมาให้หมด...นะครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************

" />
       
 

เศรษฐกิจไทย...ในสายต่างชาติ Share


เศรษฐกิจไทย...ในสายต่างชาติ

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่ 4 เมษายน 2559

           

            ไตรมาสแรกของปี 2559 ได้ผ่านพ้นไป พร้อมกับการได้รับรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. ซึ่งในเดือนสิงหาคมจะมีการทำประชามติ โดยรัฐบาลมั่นใจว่าจะสามารถเลือกตั้งได้อย่างแน่นอนในกลางปีหน้า ในด้านเศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยบวก อีกทั้งในเดือนผ่านมากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชีย (ADB) ต่างประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเป็นบวกที่ระดับ 3.0% ขณะที่สำนักจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ทั้ง S&P และ JCR ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่น ให้เครดิตความเชื่อถือประเทศไทยในระดับที่มีเสถียรภาพ

            เหตุผลสำคัญมาจากเสถียรภาพทางการเมืองมีความมั่นคง ในด้านเศรษฐกิจถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก แต่ภาคเอกชนไทยสามารถรับมือได้ในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ความน่าเชื่อถือที่เป็นบวกมาจากสภาพคล่อง ถึงแม้หนี้ครัวเรือนจะอยู่ในระดับที่ต้องเฝ้าระวัง แต่ด้านหนี้เสียหรือ NPL ของสถาบันการเงินยังอยู่ในเกณฑ์รับความเสี่ยงได้ อีกทั้งเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับที่ปลอดภัยคิดเป็น 3 เท่าของหนี้ต่างประเทศ

            อย่างไรก็ตามอย่าไปหลงประเด็นว่าเศรษฐกิจไทยจะหลุดพ้นจากวิกฤต เพราะพึ่งพิงการส่งออกในระดับสูง เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาตัวเลขขยายตัวเป็นบวก 10.27% แต่หากหักส่งออกทองคำและตัวเลขผิดปรกติของการส่งออกอัญมณีฯ ส่งออกเดือนกุมภาพันธ์อาจติดลบ ที่กล่าวเช่นนี้เพราะอุตสาหกรรมส่งออกสิบอันดับแรก พบว่า 9 ใน 10 ล้วนติดลบทั้งสิ้น

             ด้านการนำเข้าตัวเลขเดือนกุมภาพันธ์ยังคงถดถอยติดลบ -14.54% เป็นการถดถอยต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 3 โดยเฉพาะเป็นการถดถอยในสินค้าประเภทเครื่องจักรและวัตถุดิบ เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการลงทุนเอกชนในครึ่งปีแรกอาจขยายตัวได้ไม่มากนัก ขณะที่ภาคการบริโภคภายในประเทศที่หวังจะให้ขับเคลื่อนแทนภาคส่งออก ตัวเลขไตรมาสแรกเงินเฟ้อต่ำกว่าที่ประเมิน โดยเงินเฟ้อขยายตัว -0.5% สะท้อนถึงกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลงจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อีกทั้งการส่งออกสินค้าเกษตรเดือนกุมภาพันธ์ ติดลบ -7.34% และปัญหาภัยแล้งซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดการบริโภคไม่ให้เติบโต

            จากที่กล่าวมานี้ถึงแม้ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจออกมาไม่ค่อยจะสู้ดี แต่ต่างชาติยังคงเชื่อมั่นเพราะในเวลานี้ทุกประเทศต่างอยู่ในสภาวะยากลำบาก แม้แต่ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป หนี้ภาคประชาชนและหนี้รัฐบาลบานเบอะ ถึงแม้จะอัดเม็ดเงินลงไปมหาศาล แต่เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยังไม่มีท่าทีฟื้นตัวได้ง่ายๆ เห็นได้จากการปรับตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนถูกปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น

            สำหรับประเทศไทยจีดีพีหรืออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจคงหนีไม่พ้นถูกปรับให้ลดลง ซึ่งก่อนหน้านี้คาดว่าจะขยายตัว 3.5% ทั้ง ไอเอ็มเอฟ และธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชีย ได้ปรับลดลงเหลือ 3.0% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกและอาเซียน

            ดังนั้นอย่าไปดีอกดีใจกับตัวเลขการเติบโตในระดับนี้ เพราะที่ผ่านมา 2-3ปี ตัวเลขเศรษฐกิจไทยมักถูกปรับลดหลายครั้ง สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินโลกยังมีความไม่แน่นอน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มี หากไม่ใช้ต้องนี้จะไปใช้ตอนไหน มีอะไรงัดออกมาให้หมด...นะครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************


ไฟล์ประกอบ : เศรษฐกิจไทย...ในสายต่างชาติ.doc
อ่าน : 1199 ครั้ง
วันที่ : 06/04/2016

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com