ส่งออกทรุด...เศรษฐกิจซึมยาว

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559

           

            ส่งออกเดือนแรกของปี 2559 ทรุดตัวลงมากกว่าที่คาด โดยเดือนมกราคม ส่งออกเชิงเหรียญสหรัฐหดตัว 8.91% เป็นการหดตัวต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านั้นส่งออกไทยติดลบต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี คาดว่าปีนี้อาจขยายตัวได้ประมาณ 1-1.5% บางข้อมูลอาจโตได้แค่ 0% ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ยืนยันที่จะใช้ตัวเลขส่งออก 5% เป็นเป้าหมายหลอกๆ เพื่อปลอบใจตัวเอง

            การหดตัวของการส่งออกในเดือนมกราคมเป็นการหดตัวทั้งโครงสร้าง ซึ่งเป็นลักษณะนี้ต่อเนื่องมาหลายเดือน โดยภาคอุตสาหกรรมติดลบสูงถึง -8.54% ขณะที่สินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกติดลบ -5.43% ซึ่งการส่งออกในเดือนดังกล่าวหดตัวในทุกตลาดหลักทั้งสหรัฐ อียู อาเซียน จีนและฮ่องกง ทั้งหมดรวมกันเป็นสัดส่วนถึง 3 ใน 4 ของการส่งออกทั้งประเทศ ซึ่งตลาดเหล่านี้ยกเว้นสหรัฐในปีที่แล้วล้วนหดตัวทั้งสิ้น

            อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคมหากคำนวณเป็นเงินบาทก็ยังไม่ถึงขั้นติดลบ โดยยังขยายตัวได้ร้อยละศูนย์ เป็นผลจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงทั้งปีเฉลี่ย 6.4%

            ทั้งนี้การส่งออกเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน อีกทั้งยังมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า เห็นได้จากตัวเลขเดือนมกราคมหดตัวสูงถึง ?12.37% โดยเฉพาะตัวเลขการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบซึ่งติดลบสูงถึงร้อยละ -15.27 เป็นการติดลบต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 4 แสดงให้เห็นถึงกำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีความอ่อนแออย่างน่าเป็นห่วง

            ผมค่อนข้างกังวลต่อการส่งออกและนำเข้า ซึ่งการหดตัวหรือติดลบคงไม่ใช่เป็นชั่วครั้งชั่วคราวเพราะเป็นการหดตัวต่อเนื่องเข้าปีที่ 4 แล้ว โดยที่ภาคส่งออกมีสัดส่วนในโครงสร้างเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูง ไม่ใช่เกี่ยวข้องเฉพาะผู้ส่งออกแต่ยังเกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ซึ่งอยู่ในโซ่อุปทานการผลิต ขณะเดียวกันสินค้าเกษตรทั้ง ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน เกินกว่าครึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออก

            ทั้งนี้การส่งอออกซึ่งมีแนวโน้มหดตัวลากยาว  จะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรและการบริโภคที่อาจขยายตัวลดลง และความเสี่ยงของการว่างงานและโอกาสการหางานที่ลำบากมากขึ้น รวมไปถึงการจัดเก็บภาษีของรัฐจะลดลงจากภาคธุรกิจที่ขาดทุนและหรือกำไรที่ลดลง  ปัญหาการส่งออกที่หดตัวไม่อยากให้ไปโทษหน่วยงานใดไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์หรือรัฐบาล เพราะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหดตัวทำให้ความต้องการสินค้าที่ไม่จำเป็นลดลง

            สำหรับมาตรการต่างๆที่ออกมา ควรจะเป็นมาตรการที่สัมผัสจับต้องได้ ไม่ใช่เลื่อนลอย ควรมีมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ส่งออก หากเป็นไปได้ควรเรียกผู้ส่งออกทั้งรายใหญ่รายย่อยมาพูดคุยว่าเขาต้องการให้ช่วยเหลือด้านใด อย่างมัวไปคุยกับเอกชนหน้าเดิมๆมากนัก เพราะที่ผ่านมาในข้อมูลเพี้ยนแก้ปัญหาไม่ได้

            อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกที่รอดมาจนถึงทุกวันนี้คงช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง เพียงแต่ว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ช่วยอำนวยความสะดวกอย่ากลายเป็นอุปสรรคและเพิ่มต้นทุนเสียเอง.......เวลานี้ช่วยๆกันนะครับ(สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************

" />
       
 

สภาพคล่องล้นโลก...ไทยได้อะไร Share


ส่งออกทรุด...เศรษฐกิจซึมยาว

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559

           

            ส่งออกเดือนแรกของปี 2559 ทรุดตัวลงมากกว่าที่คาด โดยเดือนมกราคม ส่งออกเชิงเหรียญสหรัฐหดตัว 8.91% เป็นการหดตัวต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านั้นส่งออกไทยติดลบต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี คาดว่าปีนี้อาจขยายตัวได้ประมาณ 1-1.5% บางข้อมูลอาจโตได้แค่ 0% ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ยืนยันที่จะใช้ตัวเลขส่งออก 5% เป็นเป้าหมายหลอกๆ เพื่อปลอบใจตัวเอง

            การหดตัวของการส่งออกในเดือนมกราคมเป็นการหดตัวทั้งโครงสร้าง ซึ่งเป็นลักษณะนี้ต่อเนื่องมาหลายเดือน โดยภาคอุตสาหกรรมติดลบสูงถึง -8.54% ขณะที่สินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกติดลบ -5.43% ซึ่งการส่งออกในเดือนดังกล่าวหดตัวในทุกตลาดหลักทั้งสหรัฐ อียู อาเซียน จีนและฮ่องกง ทั้งหมดรวมกันเป็นสัดส่วนถึง 3 ใน 4 ของการส่งออกทั้งประเทศ ซึ่งตลาดเหล่านี้ยกเว้นสหรัฐในปีที่แล้วล้วนหดตัวทั้งสิ้น

            อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคมหากคำนวณเป็นเงินบาทก็ยังไม่ถึงขั้นติดลบ โดยยังขยายตัวได้ร้อยละศูนย์ เป็นผลจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงทั้งปีเฉลี่ย 6.4%

            ทั้งนี้การส่งออกเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน อีกทั้งยังมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า เห็นได้จากตัวเลขเดือนมกราคมหดตัวสูงถึง ?12.37% โดยเฉพาะตัวเลขการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบซึ่งติดลบสูงถึงร้อยละ -15.27 เป็นการติดลบต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 4 แสดงให้เห็นถึงกำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีความอ่อนแออย่างน่าเป็นห่วง

            ผมค่อนข้างกังวลต่อการส่งออกและนำเข้า ซึ่งการหดตัวหรือติดลบคงไม่ใช่เป็นชั่วครั้งชั่วคราวเพราะเป็นการหดตัวต่อเนื่องเข้าปีที่ 4 แล้ว โดยที่ภาคส่งออกมีสัดส่วนในโครงสร้างเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูง ไม่ใช่เกี่ยวข้องเฉพาะผู้ส่งออกแต่ยังเกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ซึ่งอยู่ในโซ่อุปทานการผลิต ขณะเดียวกันสินค้าเกษตรทั้ง ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน เกินกว่าครึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออก

            ทั้งนี้การส่งอออกซึ่งมีแนวโน้มหดตัวลากยาว  จะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรและการบริโภคที่อาจขยายตัวลดลง และความเสี่ยงของการว่างงานและโอกาสการหางานที่ลำบากมากขึ้น รวมไปถึงการจัดเก็บภาษีของรัฐจะลดลงจากภาคธุรกิจที่ขาดทุนและหรือกำไรที่ลดลง  ปัญหาการส่งออกที่หดตัวไม่อยากให้ไปโทษหน่วยงานใดไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์หรือรัฐบาล เพราะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหดตัวทำให้ความต้องการสินค้าที่ไม่จำเป็นลดลง

            สำหรับมาตรการต่างๆที่ออกมา ควรจะเป็นมาตรการที่สัมผัสจับต้องได้ ไม่ใช่เลื่อนลอย ควรมีมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ส่งออก หากเป็นไปได้ควรเรียกผู้ส่งออกทั้งรายใหญ่รายย่อยมาพูดคุยว่าเขาต้องการให้ช่วยเหลือด้านใด อย่างมัวไปคุยกับเอกชนหน้าเดิมๆมากนัก เพราะที่ผ่านมาในข้อมูลเพี้ยนแก้ปัญหาไม่ได้

            อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกที่รอดมาจนถึงทุกวันนี้คงช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง เพียงแต่ว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ช่วยอำนวยความสะดวกอย่ากลายเป็นอุปสรรคและเพิ่มต้นทุนเสียเอง.......เวลานี้ช่วยๆกันนะครับ(สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************


ไฟล์ประกอบ : ส่งออกทรุด...เศรษฐกิจซึมยาว.doc
อ่าน : 1331 ครั้ง
วันที่ : 08/03/2016

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com