ประเทศไทยในการเป็นศูนย์ขนส่งทางทะเลของภูมิภาค

บริบทของประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่ชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก มีพื้นที่ยาวเป็นระยะทางรวมกัน 2,614 กิโลเมตร หรือประมาณ 150 ไมล์ หากรวมพื้นที่เขตทะเลจำเพาะ 200 ไมล์ ก็จะมีพื้นที่ทะเลไทยประมาณ 314,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพิงกับการขนส่งทางทะเล ถึงร้อยละ 96-98 อ่าวไทยจึงเปรียบเสมือนประตูเศรษฐกิจของประเทศ (Gate Way) ซึ่งถือเป็นหัวใจของเศรษฐกิจไทย เห็นได้ว่า บทบาทความสำคัญของทะเลไทยไม่ได้อยู่แค่เพียงแหล่งท่องเที่ยว หรือเป็นแหล่งทรัพยากรทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นการประมงและหรือแหล่งแก๊ซธรรมชาติ แต่ทะเลไทยยังมีบทบาทและความสำคัญในฐานะเป็นสายเลือดสำคัญของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมียุทธศาสตร์การรักษาผลประโยชน์ทางทะเลในฐานะเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าเพื่อการส่งออกและนำเข้า กล่าวได้ว่า ทำเลที่ตั้งของประเทศไทย มีความเหมาะสมต่อการเป็นศูนย์กลางขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆในภูมิภาค

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

30 มิถุนายน 2553


" />
       
 

ความสำคัญของชายฝั่งทะเลไทยต่อการเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก Share


ประเทศไทยในการเป็นศูนย์ขนส่งทางทะเลของภูมิภาค

บริบทของประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่ชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก มีพื้นที่ยาวเป็นระยะทางรวมกัน 2,614 กิโลเมตร หรือประมาณ 150 ไมล์ หากรวมพื้นที่เขตทะเลจำเพาะ 200 ไมล์ ก็จะมีพื้นที่ทะเลไทยประมาณ 314,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพิงกับการขนส่งทางทะเล ถึงร้อยละ 96-98 อ่าวไทยจึงเปรียบเสมือนประตูเศรษฐกิจของประเทศ (Gate Way) ซึ่งถือเป็นหัวใจของเศรษฐกิจไทย เห็นได้ว่า บทบาทความสำคัญของทะเลไทยไม่ได้อยู่แค่เพียงแหล่งท่องเที่ยว หรือเป็นแหล่งทรัพยากรทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นการประมงและหรือแหล่งแก๊ซธรรมชาติ แต่ทะเลไทยยังมีบทบาทและความสำคัญในฐานะเป็นสายเลือดสำคัญของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมียุทธศาสตร์การรักษาผลประโยชน์ทางทะเลในฐานะเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าเพื่อการส่งออกและนำเข้า กล่าวได้ว่า ทำเลที่ตั้งของประเทศไทย มีความเหมาะสมต่อการเป็นศูนย์กลางขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆในภูมิภาค

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

30 มิถุนายน 2553



ไฟล์ประกอบ : รายงานผลการสำรวจร่วมกับสภาพัฒน์.pdf
อ่าน : 2288 ครั้ง
วันที่ : 06/07/2010

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com