ผู้ประกอบการธุรกิจซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ จะลดต้นทุนได้อย่างไร

ในสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจโลก

 

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

26 มค 52

สถานภาพเศรษฐกิจประเทศไทย

          บริบทของประเทศไทยพึ่งพิงกับเศรษฐกิจโลกถึงร้อยละ 125 ของ GDP โดยเฉพาะภาคส่งออกปี 2008 มูลค่าประมาณ 181.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 68.89 ของ GDP ดังนั้น เมื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกถดถอย โดยเฉพาะประเทศเป้าหมายการส่งออก ได้แก่ ประเทศในกลุ่ม G3 (สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น) เศรษฐกิจถดถอยเฉลี่ยติดลบร้อยละ 0.42   และการเติบโต GDP ของประเทศในกลุ่มอาเซียนเฉลี่ยเหลือเพียงร้อยละ 3.46 ,ตลาดใหม่เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ทั้งนี้ ตัวเลขการเติบโตที่ลดลงของประเทศเหล่านี้ส่งผลให้การส่งออกของไทยในปี 2009 ลดลงจากอัตราร้อยละ 16.5-17.0 (ปี 2008) เหลือเพียงอัตรา 0-5% ในด้านทิศทางการลงทุนของภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง โดยเฉพาะการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจของไทย ให้มีการซับซ้อนมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยการลงทุนของภาคเอกชนในปี 2009 อาจหดตัวลงจากร้อยละ 4.3 ในปี 2008 เหลือเพียงร้อยละ 2.2 ในส่วนของการลงทุนปี 2008 ของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI)  การลงทุนติดลบiร้อยละ 29.1% เหลือเพียง 450,000 ล้านบาท และในปีหน้าการลงทุนจะติดลบอีกร้อยละ 11.10 นอกจากนี้ ผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของประเทศไทยได้ลดลงมาเป็นลำดับ ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการปิดสนามบินในช่วง 26 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม ซึ่งอยู่ในช่วงไฮซีซั่น ซึ่งเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวกำลังเข้ามาเที่ยว ซึ่งมีจำนวนประมาณ 2.5 ล้านคนอาจหายไป   ซึ่งจะกระทบต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2009 โดยการท่องเที่ยวจะเป็นปีแรกที่หดตัวถึงร้อยละ 15-20 หากรัฐบาลยังไม่สามารถดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ คาดว่า นักท่องเที่ยวจะลดลงจาก 14-15 ล้านคน เหลือประมาณ 10.5 ล้านคน

 

ปัญหาทางการเมืองส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย (Domestic Political Problem.)

          ที่ผ่านมาในอดีตปัญหาทางการเมืองส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจค่อนข้างน้อย เนื่องจากประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันทางด้านเศรษฐกิจที่แยกต่างหากจากด้านการเมือง ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือการปฏิวัติหลายครั้ง   ก็จะไม่มีผลต่อการเมืองภาคประชาชน ทำให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามปัจจุบันการเมืองที่มีการแบ่งขั้วและมีการใช้เครื่องมือในการประชาสัมพันธ์และสื่อเข้าถึงประชาชนแต่ละกลุ่มมีการให้ผลประโยชน์และจัดตั้งมวลชนอย่างเป็นระบบ  ทำให้สังคมมีการแตกแยก แบ่งขั้ว และแบ่งภาคกันอย่างชัดเจน ส่งผลให้รัฐบาลไม่เป็นที่ยอมรับส่งผลทำให้นโยบายในการแก้ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองไม่ต่อเนื่อง โดยในช่วงเฉพาะปี 2551 มีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีถึง 4 คน ยังไม่รวมนายกรัฐมนตรีรักษาการอีกหนึ่งคน ทำให้ระยะเวลาเพียง 1 ปี ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีถึง 4 คน ส่งผลต่อการไม่มีมาตรการที่ชัดเจน รวมทั้งงบประมาณในการที่จะเข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจซึ่งเป็นวิกฤติ ดังนั้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนขั้วการเมืองจากฝ่ายค้านเป็นรัฐบาล ก็จะไม่ส่งผลมากนักต่อการสมานฉันท์ของสังคมและจะทำให้การเมืองภายในประเทศนิ่ง รัฐบาลจะเผชิญกับปัญหาการประท้วง ทั้งด้านการเมืองที่แบ่งฝ่าย , ปัญหาแรงงานว่างงาน และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะปัญหาความปรองดองในชาติ มีผลกระทบความเชื่อมั่นการบริโภค ทั้งนี้ รัฐบาล (ประชาธิปัตย์) จะได้รับแรงเสียดทานจากฝ่ายค้าน , สื่อมวลชน , สังคม ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบด้านวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ส่งออกเหลือ 0-5% การลงทุนติดลบ , ท่องเที่ยวหายไป 15-20% สภาพคล่องของภาคเอกชนติดลบ ทำให้เศรษฐกิจของไทยจะซึมระยะยาว โดยปี 2552 โอกาสที่เศรษฐกิจติดลบเป็นไปได้สูง โดยปัญหาการว่างงานและราคาพืชเกษตรตกต่ำ จะเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาล โดยเฉพาะในไตรมาส 2 ของปี 2552 การว่างงานประมาณ 2.3-2.5% (ประมาณ 0.9-1.0 ล้านคน)

 

" />
       
 

ทิศทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์-นครสวรรค์ Share


ผู้ประกอบการธุรกิจซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ จะลดต้นทุนได้อย่างไร

ในสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจโลก

 

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

26 มค 52

สถานภาพเศรษฐกิจประเทศไทย

          บริบทของประเทศไทยพึ่งพิงกับเศรษฐกิจโลกถึงร้อยละ 125 ของ GDP โดยเฉพาะภาคส่งออกปี 2008 มูลค่าประมาณ 181.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 68.89 ของ GDP ดังนั้น เมื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกถดถอย โดยเฉพาะประเทศเป้าหมายการส่งออก ได้แก่ ประเทศในกลุ่ม G3 (สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น) เศรษฐกิจถดถอยเฉลี่ยติดลบร้อยละ 0.42   และการเติบโต GDP ของประเทศในกลุ่มอาเซียนเฉลี่ยเหลือเพียงร้อยละ 3.46 ,ตลาดใหม่เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ทั้งนี้ ตัวเลขการเติบโตที่ลดลงของประเทศเหล่านี้ส่งผลให้การส่งออกของไทยในปี 2009 ลดลงจากอัตราร้อยละ 16.5-17.0 (ปี 2008) เหลือเพียงอัตรา 0-5% ในด้านทิศทางการลงทุนของภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง โดยเฉพาะการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจของไทย ให้มีการซับซ้อนมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยการลงทุนของภาคเอกชนในปี 2009 อาจหดตัวลงจากร้อยละ 4.3 ในปี 2008 เหลือเพียงร้อยละ 2.2 ในส่วนของการลงทุนปี 2008 ของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI)  การลงทุนติดลบiร้อยละ 29.1% เหลือเพียง 450,000 ล้านบาท และในปีหน้าการลงทุนจะติดลบอีกร้อยละ 11.10 นอกจากนี้ ผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของประเทศไทยได้ลดลงมาเป็นลำดับ ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการปิดสนามบินในช่วง 26 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม ซึ่งอยู่ในช่วงไฮซีซั่น ซึ่งเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวกำลังเข้ามาเที่ยว ซึ่งมีจำนวนประมาณ 2.5 ล้านคนอาจหายไป   ซึ่งจะกระทบต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2009 โดยการท่องเที่ยวจะเป็นปีแรกที่หดตัวถึงร้อยละ 15-20 หากรัฐบาลยังไม่สามารถดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ คาดว่า นักท่องเที่ยวจะลดลงจาก 14-15 ล้านคน เหลือประมาณ 10.5 ล้านคน

 

ปัญหาทางการเมืองส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย (Domestic Political Problem.)

          ที่ผ่านมาในอดีตปัญหาทางการเมืองส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจค่อนข้างน้อย เนื่องจากประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันทางด้านเศรษฐกิจที่แยกต่างหากจากด้านการเมือง ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือการปฏิวัติหลายครั้ง   ก็จะไม่มีผลต่อการเมืองภาคประชาชน ทำให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามปัจจุบันการเมืองที่มีการแบ่งขั้วและมีการใช้เครื่องมือในการประชาสัมพันธ์และสื่อเข้าถึงประชาชนแต่ละกลุ่มมีการให้ผลประโยชน์และจัดตั้งมวลชนอย่างเป็นระบบ  ทำให้สังคมมีการแตกแยก แบ่งขั้ว และแบ่งภาคกันอย่างชัดเจน ส่งผลให้รัฐบาลไม่เป็นที่ยอมรับส่งผลทำให้นโยบายในการแก้ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองไม่ต่อเนื่อง โดยในช่วงเฉพาะปี 2551 มีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีถึง 4 คน ยังไม่รวมนายกรัฐมนตรีรักษาการอีกหนึ่งคน ทำให้ระยะเวลาเพียง 1 ปี ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีถึง 4 คน ส่งผลต่อการไม่มีมาตรการที่ชัดเจน รวมทั้งงบประมาณในการที่จะเข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจซึ่งเป็นวิกฤติ ดังนั้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนขั้วการเมืองจากฝ่ายค้านเป็นรัฐบาล ก็จะไม่ส่งผลมากนักต่อการสมานฉันท์ของสังคมและจะทำให้การเมืองภายในประเทศนิ่ง รัฐบาลจะเผชิญกับปัญหาการประท้วง ทั้งด้านการเมืองที่แบ่งฝ่าย , ปัญหาแรงงานว่างงาน และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะปัญหาความปรองดองในชาติ มีผลกระทบความเชื่อมั่นการบริโภค ทั้งนี้ รัฐบาล (ประชาธิปัตย์) จะได้รับแรงเสียดทานจากฝ่ายค้าน , สื่อมวลชน , สังคม ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบด้านวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ส่งออกเหลือ 0-5% การลงทุนติดลบ , ท่องเที่ยวหายไป 15-20% สภาพคล่องของภาคเอกชนติดลบ ทำให้เศรษฐกิจของไทยจะซึมระยะยาว โดยปี 2552 โอกาสที่เศรษฐกิจติดลบเป็นไปได้สูง โดยปัญหาการว่างงานและราคาพืชเกษตรตกต่ำ จะเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาล โดยเฉพาะในไตรมาส 2 ของปี 2552 การว่างงานประมาณ 2.3-2.5% (ประมาณ 0.9-1.0 ล้านคน)

 


ไฟล์ประกอบ : 011-2009.pdf
อ่าน : 2388 ครั้ง
วันที่ : 18/02/2009

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com