ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรถขนส่งเชียงแสนเชิงการตลาด

 

โดยธนิต  โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

 

ความเป็นมาและความสำคัญของท่าเรือเชียงแสน 2

          จากการศึกษาของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ซึ่งได้ศึกษามาตั้งแต่ปี 2543 เห็นว่าท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 ซึ่งเป็นท่าเรือรองรับการขนส่งทางแม่น้ำโขง ตั้งอยู่ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีปัญหาอุปสรรคเชิงพื้นที่มาก และเห็นว่าควรจะมีการย้ายไปตรงบริเวณปากแม่น้ำกก บริเวณตำบลสบรวก เป็นพื้นที่ของ สปก. จำนวน 387 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา ซึ่งได้รับอนุมัติการขอใช้ที่ดินจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยในปี 2549 ได้จ่ายงบประมาณชดเชยค่าที่ดินจำนวน 50 ล้านบาท พร้อมทั้งดำเนินการให้ศิลปากรจังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาดูแลผลกระทบด้านโบราณสถานบริเวณรอบที่ดิน ทั้งนี้ ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ได้รับการอนุมัติ งบประมาณในการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2551 เป็นงบประมาณผูกพันปี 2552 – 2554 จำนวน 1,546 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ระยะเวลาการก่อสร้าง 960 วัน ในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านถนนที่จะเข้าท่าเรือกรมทางหลวงชนบทจะมีการดำเนินการสร้างเส้นทางสายใหม่ จากเส้นทางหมายเลข 1129 โดยเริ่มต้นที่บ้านสันทรายกองงาม เพื่อมาเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ดังนั้น ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 จึงเป็นทางเลือกของการขนส่งทางแม่น้ำโขง จะยังคงมีบทบาทและเป็นทางเลือกระหว่างการขนส่งทางถนน (เส้นทาง R3E) โดยสินค้าหลักที่คาดว่าจะใช้เส้นทางขนส่งทางแม่น้ำ จะเป็นสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและยางพารา ซึ่งในปี 2550 มีสินค้าผ่านท่าเรือเชียงแสน 250,000 เมตริกตัน และในปี 2554 คาดว่าปริมาณ 500,000 เมตริกตัน โดยในปี 2558 จะเป็นปริมาณสินค้าที่จะขนส่งโดยใช้เส้นทางแม่น้ำโขงอาจไปถึง 1.0 ล้านเมตริกตัน ซึ่งสินค้าเกษตรประเภทที่ยังไม่แปรรูปจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของการขนส่งทางแม่น้ำโขง

ประเภทของสินค้าที่จะขนส่งผ่านศูนย์เปลี่ยนถ่ายรถขนส่งเชียงแสน

          ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ซึ่งจะสร้างใหม่จะมีลักษณะเป็นแอ่งจอดเรืออยู่ห่างจากท่าเรือเดิมประมาณ 10 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จจะส่งเสริมต่อการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน โดยเฉพาะจีนตอนใต้ ซึ่งศูนย์เปลี่ยนถ่ายรถขนส่งเชียงแสนจะเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gateway) เชื่อมโยงการขนส่งทางแม่น้ำโขงกับท่าเรือของจีน ได้แก่ ท่าเรือกวนเล่ย และท่าเรือจิ่งหง ซึ่งอยู่ต้นน้ำระยะทางประมาณ 360 กิโลเมตร  การขนส่งสินค้าจากท่าเรือทั้ง 2 แห่งของจีนสามารถเปลี่ยนโหมดการขนส่งทางถนนไปสู่มณฑลยูนาน ซึ่งภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ “GMS” ถือเป็นแนวระเบียงเส้นทางเหนือ-ใต้ หรือ North-South Economic Corridor โดยจีนได้วางยุทธศาสตร์ให้นครคุนหมิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนาน ให้เป็นศูนย์กลาง (HUB) ในการเชื่อมโยงการขนส่งและการกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดของประเทศไทย ซึ่งจีนถือเป็น Land bridge ที่จะเข้าสู่อาเซียน โดยมณฑลยูนานอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเนื้อที่ประมาณ 394,100 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองอาหารที่สำคัญของจีน และเป็นฐานการผลิตยางพาราใหญ่ที่สุดของประเทศจีน รวมทั้ง เป็นแหล่งผลิตน้ำมันปาล์ม กาแฟ และชา และประเทศจีนกำหนดให้มณฑลยูนานเป็นแหล่งผลิตผัก ผลไม้ และวางยุทธศาสตร์ให้เป็นแหล่งผลิตดอกไม้ของโลก  โดยในปี 2006 มีพื้นที่ใช้ปลูกดอกไม้ถึง 107,000 ไร่ มีมูลค่ามากกว่า 3,500 ล้านหยวน ยุทธศาสตร์มณฑลยูนาน จึงเป็นตลาดส่งออกผัก ผลไม้ โดยมีประเทศไทยเป็นตลาดเป้าหมาย ซึ่งสินค้าที่ส่งออกผ่านศูนย์เปลี่ยนถ่ายรถขนส่งเชียงแสน เช่น กระเทียม แอปเปิ้ล พริกไทย กะหล่ำปลี บล็อกโคลี่ ถั่วลันเตา ผักกาดขาว ฯลฯ ทั้งนี้ ภายใต้การเปิดเสรีการค้า FTA ซึ่งไทยได้ทำกับประเทศจีน (ผ่านทาง AFTA จีน-อาเซียน) ทำให้การนำเข้าผัก ผลไม้จากประเทศจีนในอัตราภาษีศูนย์ ขณะที่สินค้าไทยซึ่งไปขายในประเทศจีนต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 13% โดยที่มณฑลยูนานถูกจัดเป็น “Area Base” ในการใช้การขนส่งทางแม่น้ำระบายสินค้าเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งยูนานมีความได้เปรียบทั้งเชิงพื้นที่เพาะปลูกที่สภาพภูมิอากาศ มีความเหมาะสมกับการปลูกผัก ผลไม้เมืองหนาว มีต้นทุนการผลิตต่อไร่ที่ต่ำกว่า เนื่องจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์และมีค่าแรงราคาต่ำ อีกทั้งการขนส่งจากเมืองจิ่งหง (ซึ่งเป็นเมืองท่าปลายทางของการขนส่งทางแม่น้ำโขง) และหรือเมืองกวนเล่ย ซึ่งเป็นท่าเรือตรงรอยต่อระหว่างจีน-พม่า และสปป.ลาว ทำให้จีนมีศักยภาพสามารถส่งสินค้าล่องลงตามแม่น้ำโขง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 9-10 ชั่วโมง ขณะที่ไทยจะมีต้นทุนการผลิตต่อไร่ที่สูงกว่า และมีต้นทุนการขนส่งที่สูงกว่าประเทศจีน 2-3 เท่า

เหตุใดต้องมีท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 2

          จากความแออัดทางด้านพื้นที่ท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 กอปร์กับ พื้นที่ท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 1โดยรอบไม่สามารถ ขยายพื้นที่ได้เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เมือง โครงการท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาและก่อสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สะดวกในการใช้งานของท่าเทียบเรือเดิม โดยมีเหตุผลในการก่อสร้างทางเรือแห่งใหม่ ดังนี้

1.   ท่าเทียบเรือเชียงแสน 1 ไม่มีโรงพักสินค้า และ อยู่ในเขตเทศบาลจึงไม่สามารถขยายพื้นที่รองรับได้ เกิดปัญหาการจราจรติดขัด

2.   อำเภอเชียงแสนเป็นเมืองประวัติศาสตร์ การวิ่งเข้าออกของรถบรรทุกสินค้าจำนวนมากอาจส่งผลต่อความเสียหายของโบราณสถาน

3.      การขนถ่ายสินค้าผ่านสะพานปรับระดับช่วงฤดูแล้งไม่สะดวก เนื่องจาก ความชันของสะพานมาก

4.   การซ่อมบำรุงทุ่นเทียบเรือใต้แนวน้ำทำได้ลำบาก เนื่องจาก ต้องหาโครงสร้างมาค้ำยันสะพานปรับระดับ และ ไม่มีคานเรือขนาดสำหรับทุ่นเทียบเรือ 12 X 50 เมตรในพื้นที่

5.      การซ่อมบำรุงสะพานปรับระดับทำได้ลำบาก 

" />
       
 

ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรถขนส่งเชียงแสนเชิงการตลาด Share


ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรถขนส่งเชียงแสนเชิงการตลาด

 

โดยธนิต  โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

 

ความเป็นมาและความสำคัญของท่าเรือเชียงแสน 2

          จากการศึกษาของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ซึ่งได้ศึกษามาตั้งแต่ปี 2543 เห็นว่าท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 ซึ่งเป็นท่าเรือรองรับการขนส่งทางแม่น้ำโขง ตั้งอยู่ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีปัญหาอุปสรรคเชิงพื้นที่มาก และเห็นว่าควรจะมีการย้ายไปตรงบริเวณปากแม่น้ำกก บริเวณตำบลสบรวก เป็นพื้นที่ของ สปก. จำนวน 387 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา ซึ่งได้รับอนุมัติการขอใช้ที่ดินจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยในปี 2549 ได้จ่ายงบประมาณชดเชยค่าที่ดินจำนวน 50 ล้านบาท พร้อมทั้งดำเนินการให้ศิลปากรจังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาดูแลผลกระทบด้านโบราณสถานบริเวณรอบที่ดิน ทั้งนี้ ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ได้รับการอนุมัติ งบประมาณในการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2551 เป็นงบประมาณผูกพันปี 2552 – 2554 จำนวน 1,546 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ระยะเวลาการก่อสร้าง 960 วัน ในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านถนนที่จะเข้าท่าเรือกรมทางหลวงชนบทจะมีการดำเนินการสร้างเส้นทางสายใหม่ จากเส้นทางหมายเลข 1129 โดยเริ่มต้นที่บ้านสันทรายกองงาม เพื่อมาเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ดังนั้น ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 จึงเป็นทางเลือกของการขนส่งทางแม่น้ำโขง จะยังคงมีบทบาทและเป็นทางเลือกระหว่างการขนส่งทางถนน (เส้นทาง R3E) โดยสินค้าหลักที่คาดว่าจะใช้เส้นทางขนส่งทางแม่น้ำ จะเป็นสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและยางพารา ซึ่งในปี 2550 มีสินค้าผ่านท่าเรือเชียงแสน 250,000 เมตริกตัน และในปี 2554 คาดว่าปริมาณ 500,000 เมตริกตัน โดยในปี 2558 จะเป็นปริมาณสินค้าที่จะขนส่งโดยใช้เส้นทางแม่น้ำโขงอาจไปถึง 1.0 ล้านเมตริกตัน ซึ่งสินค้าเกษตรประเภทที่ยังไม่แปรรูปจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของการขนส่งทางแม่น้ำโขง

ประเภทของสินค้าที่จะขนส่งผ่านศูนย์เปลี่ยนถ่ายรถขนส่งเชียงแสน

          ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ซึ่งจะสร้างใหม่จะมีลักษณะเป็นแอ่งจอดเรืออยู่ห่างจากท่าเรือเดิมประมาณ 10 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จจะส่งเสริมต่อการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน โดยเฉพาะจีนตอนใต้ ซึ่งศูนย์เปลี่ยนถ่ายรถขนส่งเชียงแสนจะเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gateway) เชื่อมโยงการขนส่งทางแม่น้ำโขงกับท่าเรือของจีน ได้แก่ ท่าเรือกวนเล่ย และท่าเรือจิ่งหง ซึ่งอยู่ต้นน้ำระยะทางประมาณ 360 กิโลเมตร  การขนส่งสินค้าจากท่าเรือทั้ง 2 แห่งของจีนสามารถเปลี่ยนโหมดการขนส่งทางถนนไปสู่มณฑลยูนาน ซึ่งภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ “GMS” ถือเป็นแนวระเบียงเส้นทางเหนือ-ใต้ หรือ North-South Economic Corridor โดยจีนได้วางยุทธศาสตร์ให้นครคุนหมิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนาน ให้เป็นศูนย์กลาง (HUB) ในการเชื่อมโยงการขนส่งและการกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดของประเทศไทย ซึ่งจีนถือเป็น Land bridge ที่จะเข้าสู่อาเซียน โดยมณฑลยูนานอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเนื้อที่ประมาณ 394,100 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองอาหารที่สำคัญของจีน และเป็นฐานการผลิตยางพาราใหญ่ที่สุดของประเทศจีน รวมทั้ง เป็นแหล่งผลิตน้ำมันปาล์ม กาแฟ และชา และประเทศจีนกำหนดให้มณฑลยูนานเป็นแหล่งผลิตผัก ผลไม้ และวางยุทธศาสตร์ให้เป็นแหล่งผลิตดอกไม้ของโลก  โดยในปี 2006 มีพื้นที่ใช้ปลูกดอกไม้ถึง 107,000 ไร่ มีมูลค่ามากกว่า 3,500 ล้านหยวน ยุทธศาสตร์มณฑลยูนาน จึงเป็นตลาดส่งออกผัก ผลไม้ โดยมีประเทศไทยเป็นตลาดเป้าหมาย ซึ่งสินค้าที่ส่งออกผ่านศูนย์เปลี่ยนถ่ายรถขนส่งเชียงแสน เช่น กระเทียม แอปเปิ้ล พริกไทย กะหล่ำปลี บล็อกโคลี่ ถั่วลันเตา ผักกาดขาว ฯลฯ ทั้งนี้ ภายใต้การเปิดเสรีการค้า FTA ซึ่งไทยได้ทำกับประเทศจีน (ผ่านทาง AFTA จีน-อาเซียน) ทำให้การนำเข้าผัก ผลไม้จากประเทศจีนในอัตราภาษีศูนย์ ขณะที่สินค้าไทยซึ่งไปขายในประเทศจีนต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 13% โดยที่มณฑลยูนานถูกจัดเป็น “Area Base” ในการใช้การขนส่งทางแม่น้ำระบายสินค้าเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งยูนานมีความได้เปรียบทั้งเชิงพื้นที่เพาะปลูกที่สภาพภูมิอากาศ มีความเหมาะสมกับการปลูกผัก ผลไม้เมืองหนาว มีต้นทุนการผลิตต่อไร่ที่ต่ำกว่า เนื่องจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์และมีค่าแรงราคาต่ำ อีกทั้งการขนส่งจากเมืองจิ่งหง (ซึ่งเป็นเมืองท่าปลายทางของการขนส่งทางแม่น้ำโขง) และหรือเมืองกวนเล่ย ซึ่งเป็นท่าเรือตรงรอยต่อระหว่างจีน-พม่า และสปป.ลาว ทำให้จีนมีศักยภาพสามารถส่งสินค้าล่องลงตามแม่น้ำโขง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 9-10 ชั่วโมง ขณะที่ไทยจะมีต้นทุนการผลิตต่อไร่ที่สูงกว่า และมีต้นทุนการขนส่งที่สูงกว่าประเทศจีน 2-3 เท่า

เหตุใดต้องมีท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 2

          จากความแออัดทางด้านพื้นที่ท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 กอปร์กับ พื้นที่ท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 1โดยรอบไม่สามารถ ขยายพื้นที่ได้เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เมือง โครงการท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาและก่อสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สะดวกในการใช้งานของท่าเทียบเรือเดิม โดยมีเหตุผลในการก่อสร้างทางเรือแห่งใหม่ ดังนี้

1.   ท่าเทียบเรือเชียงแสน 1 ไม่มีโรงพักสินค้า และ อยู่ในเขตเทศบาลจึงไม่สามารถขยายพื้นที่รองรับได้ เกิดปัญหาการจราจรติดขัด

2.   อำเภอเชียงแสนเป็นเมืองประวัติศาสตร์ การวิ่งเข้าออกของรถบรรทุกสินค้าจำนวนมากอาจส่งผลต่อความเสียหายของโบราณสถาน

3.      การขนถ่ายสินค้าผ่านสะพานปรับระดับช่วงฤดูแล้งไม่สะดวก เนื่องจาก ความชันของสะพานมาก

4.   การซ่อมบำรุงทุ่นเทียบเรือใต้แนวน้ำทำได้ลำบาก เนื่องจาก ต้องหาโครงสร้างมาค้ำยันสะพานปรับระดับ และ ไม่มีคานเรือขนาดสำหรับทุ่นเทียบเรือ 12 X 50 เมตรในพื้นที่

5.      การซ่อมบำรุงสะพานปรับระดับทำได้ลำบาก 


ไฟล์ประกอบ : 003-2009.pdf
อ่าน : 3876 ครั้ง
วันที่ : 13/01/2009

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com