บทความพิเศษ..

วิกฤติการเงินโลก..จะทำให้เศรษฐกิจโลกสู่ยุคถดถอยหรือไม่..

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

15 ตุลาคม 2551

          เศรษฐกิจทางการเงินที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นวิกฤติทางการเงินของโลกที่มีความรุนแรงเปรียบเทียบใกล้เคียงกับวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 1929  ที่เรียกว่า “The Great Depression” วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้มีผลสืบเนื่องมาจากการที่เกิดวิกฤติทางด้านการเงินของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสินทรัพย์ที่จดจำนองกับสถาบันการเงินมีค่าต่ำกว่าราคาประเมินตามความจริง อันนำไปสู่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้อยคุณภาพ ที่เรียกว่า Sub-Prime  เมื่อฟองสบู่ในสหรัฐฯแตก หรือที่เรียกว่า Hamburger Crisis ที่เกิดในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม 2550 ผลของหนี้สินของสถาบันการเงินที่กลายเป็นหนี้เน่า (Toxic Asset) ก่อให้เกิดวิกฤติทางสินเชื่ออันนำไปสู่การลดสภาพคล่องของสถาบันการเงิน ส่งผลต่อความขาดความเชื่อมั่น ทำให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา มีการล้มละลายและหรือต้องมีการขายธุรกิจ เช่น แบร์เสติน , แฟนนี เมย์ , แฟนนี แม็ค และเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2551 สถาบันการเงินขนาดใหญ่ ได้แก่ เรย์แมนบราเดอร์ มีหนี้สินถึง 6.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงขั้นล้มละลาย ตามมาด้วย สถาบันประกันภัยการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ AIG ขาดสภาพคล่องจนธนาคารกลางของสหรัฐฯ ต้องอัดฉีดเงิน 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพื่อเข้าถือหุ้น 79.9% นอกจากนี้พาณิชธนกิจขนาดใหญ่ เช่น Morgan Stanley และ Goldman sack ขาดสภาพคล่อง จนที่สุดธนาคาร       มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ของญี่ปุ่นต้องเข้าซื้อหุ้นกว่า 25%

แนวโน้มทิศทางของเศรษฐกิจโลกจากนี้ไปอย่างน้อยถึงกลางปี 2552 อาจมีดังนี้

1.   คาดการณ์ว่าสถาบันการเงินชั้นนำอีกหลายแห่งของประเทศพัฒนาแล้วรวมถึงในเอเชีย จะยังมีโอกาสล้มละลายขึ้นอยู่กับว่าหนี้เน่าในระบบมีมากเพียงใด และจำนวนเงินที่อัดฉีดพอเพียงที่จะประกันเงินฝากธนาคารทั้งระบบได้หรือไม่

2.   สภาพคล่องทางการเงินของโลกจะยังตึงตัว ทำให้มีความต้องการแหล่งเงินในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งมี Risk Premium ต่ำกว่าเพื่อไปอัดฉีดสภาพคล่อง เนื่องจากทางสถาบันการเงินต่างๆ รวมถึง กองทุนจะมีการนำเงินเข้าไปแก้ปัญหาทางการเงินในสถาบันของตน เกิดการโยกย้ายเงินจากแหล่งต่างๆของโลก ที่บริษัทเหล่านี้ได้ถือหุ้น โดยการโยกเงินเข้าไปแก้ปัญหาสภาพคล่อง เหตุผลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในช่วงนี้ธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกต่างพร้อมใจกันลดดอกเบี้ยชี้นำ เพื่อที่จะเสริมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของตนเอง

3.   ปัญหาการว่างงานในประเทศชั้นนำของโลก จะมีการทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่นในสหรัฐฯมีการว่างงานสูงสุดถึง 6.1% ถือว่าเลวร้ายมากสุดในรอบ 10 ปี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะส่งผลให้การบริโภคหรือการลงทุนของโลกในปี 2552 จะมีการชะลอตัวลงอย่างรุนแรง โดยการเติบโตของโลกในปีหน้าจะเหลือประมาณ 2.9-3.0% ลดลงจากปีนี้ที่ 3.9% โดยเศรษฐกิจโลกอาจจะฟื้นตัวได้เร็วที่สุดก็คงจะเป็นครึ่งหลังของปีหน้า ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถลดปัญหาความเสี่ยงของสถาบันการเงินต่างๆของโลกได้ในระดับไหน

 

หลายสถาบันชั้นนำของโลกคาดการณ์ว่ามาตรการของสหรัฐและ G7 อาจไม่เพียงพอที่จะเยียวยาเศรษฐกิจของโลก ซึ่งกำลังเข้าสู่สภาวะการตกต่ำครั้งใหญ่ ส่งผลให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ , ยุโรป , ญี่ปุ่น , เกาหลี และประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าสู่สภาวะถดถอย ถือเป็นความเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เมื่อปี 1929 โดย IMF ได้ปรับลดตัวเลขอัตราคาดการณ์เศรษฐกิจโลก หรือ GDP ในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 3.9% และในปี 2552 จะอยู่ที่ 3.0% ถือว่าเป็นอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกที่ต่ำสุดในรอบ 7 ปี ซึ่งสหรัฐฯจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือเศรษฐกิจในปีนี้ จะโตเพียง 1.3% และในปีหน้าอาจจะเหลือเพียง 0.1% สำหรับยุโรปในปี 2552 ก็อาจจะโตประมาณร้อยละ 1.0 บางประเทศ เช่น เยอรมันเศรษฐกิจติดลบ 1.0 สำหรับประเทศญี่ปุ่น เศรษฐกิจอาจจะโตเพียงร้อยละ 1.2 ผลของการถดถอยทางเศรษฐกิจจะทำให้นักลงทุนและประชาชนของประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่มีความมั่นใจและมีการระมัดระวังการใช้สอย และถึงขั้นแห่ไปถอนเงินจากธนาคาร แม้แต่ธนาคารด้วยกันก็ไม่ไว้ใจในการปล่อยสินเชื่อต่อกัน (Interbank) ทั้งนี้ วิกฤติทางการเงินของสหรัฐฯได้ลุกลามเข้าไปยังสถาบันการเงินของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในยุโรปและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เยอรมัน , ไอร์แลนด์ , สวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้ง เกาหลี , จีน , รัสเซีย ฯลฯ ซึ่งได้เข้าไปลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (Derivative) ซึ่งเมื่อสินทรัพย์เหล่านี้ด้อยคุณภาพก็ก่อให้เกิดการขาดทุนและมีผลต่อสภาพคล่องของสถาบันการเงินที่ได้เข้าไปลงทุนในตราสารเหล่านี้ ทำให้สถาบันการเงินที่เข้าไปลงทุนขาดทุนหรือบางแห่งต้องปิดตัวล้มละลายกลายเป็น “Domino Crunch Effect” ไปทั่วโลก ในกรณีประเทศไทย จะต้องมีการติดตามมาตรการทั้ง 6 ของรัฐบาลว่าจะสามารถหยุดยั้งไม่ให้วิกฤติของโลกลุกลามเข้ามาสู่ประเทศไทยได้มากน้อยเพียงใด

 

************

 

" />
       
 

บทความพิเศษ..วิกฤติการเงินโลก..จะทำให้เศรษฐกิจโลกสู่ยุคถดถอยหรือไม่.. Share


บทความพิเศษ..

วิกฤติการเงินโลก..จะทำให้เศรษฐกิจโลกสู่ยุคถดถอยหรือไม่..

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

15 ตุลาคม 2551

          เศรษฐกิจทางการเงินที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นวิกฤติทางการเงินของโลกที่มีความรุนแรงเปรียบเทียบใกล้เคียงกับวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 1929  ที่เรียกว่า “The Great Depression” วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้มีผลสืบเนื่องมาจากการที่เกิดวิกฤติทางด้านการเงินของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสินทรัพย์ที่จดจำนองกับสถาบันการเงินมีค่าต่ำกว่าราคาประเมินตามความจริง อันนำไปสู่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้อยคุณภาพ ที่เรียกว่า Sub-Prime  เมื่อฟองสบู่ในสหรัฐฯแตก หรือที่เรียกว่า Hamburger Crisis ที่เกิดในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม 2550 ผลของหนี้สินของสถาบันการเงินที่กลายเป็นหนี้เน่า (Toxic Asset) ก่อให้เกิดวิกฤติทางสินเชื่ออันนำไปสู่การลดสภาพคล่องของสถาบันการเงิน ส่งผลต่อความขาดความเชื่อมั่น ทำให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา มีการล้มละลายและหรือต้องมีการขายธุรกิจ เช่น แบร์เสติน , แฟนนี เมย์ , แฟนนี แม็ค และเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2551 สถาบันการเงินขนาดใหญ่ ได้แก่ เรย์แมนบราเดอร์ มีหนี้สินถึง 6.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงขั้นล้มละลาย ตามมาด้วย สถาบันประกันภัยการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ AIG ขาดสภาพคล่องจนธนาคารกลางของสหรัฐฯ ต้องอัดฉีดเงิน 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพื่อเข้าถือหุ้น 79.9% นอกจากนี้พาณิชธนกิจขนาดใหญ่ เช่น Morgan Stanley และ Goldman sack ขาดสภาพคล่อง จนที่สุดธนาคาร       มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ของญี่ปุ่นต้องเข้าซื้อหุ้นกว่า 25%

แนวโน้มทิศทางของเศรษฐกิจโลกจากนี้ไปอย่างน้อยถึงกลางปี 2552 อาจมีดังนี้

1.   คาดการณ์ว่าสถาบันการเงินชั้นนำอีกหลายแห่งของประเทศพัฒนาแล้วรวมถึงในเอเชีย จะยังมีโอกาสล้มละลายขึ้นอยู่กับว่าหนี้เน่าในระบบมีมากเพียงใด และจำนวนเงินที่อัดฉีดพอเพียงที่จะประกันเงินฝากธนาคารทั้งระบบได้หรือไม่

2.   สภาพคล่องทางการเงินของโลกจะยังตึงตัว ทำให้มีความต้องการแหล่งเงินในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งมี Risk Premium ต่ำกว่าเพื่อไปอัดฉีดสภาพคล่อง เนื่องจากทางสถาบันการเงินต่างๆ รวมถึง กองทุนจะมีการนำเงินเข้าไปแก้ปัญหาทางการเงินในสถาบันของตน เกิดการโยกย้ายเงินจากแหล่งต่างๆของโลก ที่บริษัทเหล่านี้ได้ถือหุ้น โดยการโยกเงินเข้าไปแก้ปัญหาสภาพคล่อง เหตุผลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในช่วงนี้ธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกต่างพร้อมใจกันลดดอกเบี้ยชี้นำ เพื่อที่จะเสริมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของตนเอง

3.   ปัญหาการว่างงานในประเทศชั้นนำของโลก จะมีการทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่นในสหรัฐฯมีการว่างงานสูงสุดถึง 6.1% ถือว่าเลวร้ายมากสุดในรอบ 10 ปี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะส่งผลให้การบริโภคหรือการลงทุนของโลกในปี 2552 จะมีการชะลอตัวลงอย่างรุนแรง โดยการเติบโตของโลกในปีหน้าจะเหลือประมาณ 2.9-3.0% ลดลงจากปีนี้ที่ 3.9% โดยเศรษฐกิจโลกอาจจะฟื้นตัวได้เร็วที่สุดก็คงจะเป็นครึ่งหลังของปีหน้า ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถลดปัญหาความเสี่ยงของสถาบันการเงินต่างๆของโลกได้ในระดับไหน

 

หลายสถาบันชั้นนำของโลกคาดการณ์ว่ามาตรการของสหรัฐและ G7 อาจไม่เพียงพอที่จะเยียวยาเศรษฐกิจของโลก ซึ่งกำลังเข้าสู่สภาวะการตกต่ำครั้งใหญ่ ส่งผลให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ , ยุโรป , ญี่ปุ่น , เกาหลี และประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าสู่สภาวะถดถอย ถือเป็นความเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เมื่อปี 1929 โดย IMF ได้ปรับลดตัวเลขอัตราคาดการณ์เศรษฐกิจโลก หรือ GDP ในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 3.9% และในปี 2552 จะอยู่ที่ 3.0% ถือว่าเป็นอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกที่ต่ำสุดในรอบ 7 ปี ซึ่งสหรัฐฯจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือเศรษฐกิจในปีนี้ จะโตเพียง 1.3% และในปีหน้าอาจจะเหลือเพียง 0.1% สำหรับยุโรปในปี 2552 ก็อาจจะโตประมาณร้อยละ 1.0 บางประเทศ เช่น เยอรมันเศรษฐกิจติดลบ 1.0 สำหรับประเทศญี่ปุ่น เศรษฐกิจอาจจะโตเพียงร้อยละ 1.2 ผลของการถดถอยทางเศรษฐกิจจะทำให้นักลงทุนและประชาชนของประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่มีความมั่นใจและมีการระมัดระวังการใช้สอย และถึงขั้นแห่ไปถอนเงินจากธนาคาร แม้แต่ธนาคารด้วยกันก็ไม่ไว้ใจในการปล่อยสินเชื่อต่อกัน (Interbank) ทั้งนี้ วิกฤติทางการเงินของสหรัฐฯได้ลุกลามเข้าไปยังสถาบันการเงินของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในยุโรปและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เยอรมัน , ไอร์แลนด์ , สวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้ง เกาหลี , จีน , รัสเซีย ฯลฯ ซึ่งได้เข้าไปลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (Derivative) ซึ่งเมื่อสินทรัพย์เหล่านี้ด้อยคุณภาพก็ก่อให้เกิดการขาดทุนและมีผลต่อสภาพคล่องของสถาบันการเงินที่ได้เข้าไปลงทุนในตราสารเหล่านี้ ทำให้สถาบันการเงินที่เข้าไปลงทุนขาดทุนหรือบางแห่งต้องปิดตัวล้มละลายกลายเป็น “Domino Crunch Effect” ไปทั่วโลก ในกรณีประเทศไทย จะต้องมีการติดตามมาตรการทั้ง 6 ของรัฐบาลว่าจะสามารถหยุดยั้งไม่ให้วิกฤติของโลกลุกลามเข้ามาสู่ประเทศไทยได้มากน้อยเพียงใด

 

************

 


ไฟล์ประกอบ : 184-วิกฤติการเงินโลก.pdf
อ่าน : 4252 ครั้ง
วันที่ : 21/10/2008

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com