มาตรการการลดส่วนต่างดอกเบี้ยของกระทรวงการคลัง..

สามารถช่วย SMEs ในยุควิกฤติเศรษฐกิจได้หรือไม่

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

          กระทรวงการคลังโดยรัฐมนตรี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ได้มีนโยบายให้ธนาคารของรัฐ จัดตั้งเป็นธนาคารเฉพาะกิจ ในการปล่อยสินเชื่ออัตราต่ำให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs โดยอัตราดอกเบี้ยจะมีช่องว่างส่วนต่าง 2% ระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งมาตรการนี้คงจะเป็นมาตรการช่วยภาคธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งต้องเข้าใจว่าปัญหาภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อันเป็นสาเหตุที่เกิดจากวิกฤติราคาน้ำมัน ซึ่งเฉพาะในครึ่งปีแรก ราคาน้ำมันได้ปรับตัวไปถึงร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับในปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันทั้งปีมีการปรับตัวสูงขึ้นเพียงร้อยละ 26 ถึงแม้ว่าช่วงนี้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลอาจมีการเคลื่อนไหวในราคาที่ลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ซึ่งน่าจะเป็นในลักษณะชั่วคราว เนื่องจาก  สต๊อกน้ำมันของสหรัฐฯมีการเพิ่มขึ้นและเป็นที่น่าสังเกตุว่า ราคาน้ำมันเวสต์เท็กซัส (WTI : West Texas Intermediate) มีราคาต่ำลงอย่างผิดปกติ คือต่ำกว่าราคาน้ำมันดูไบ ซึ่งปกติจะมีราคาต่ำกว่าประมาณร้อยละ 12-15 โดยราคา ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 51 อยู่ที่ระดับ 127.95 ดอลล่าร์ต่อบาเรล ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดูไบที่อยู่ในระดับ 128.82 ดอลล่าร์ต่อบาเรล  โดยราคา WTI จะเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่ากว่าร้อยละ 50 ของสัญญาล่วงหน้าที่ซื้อขายกันทั่วโลก เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดูไบ (ซึ่งเป็นราคาที่ ปตท. อ้างอิง) มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 10 เมื่อราคาตลาด WTI ลงก็เป็นการชี้นำให้ราคาน้ำมันในทุกตลาดต้องปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันคาดการณ์ว่าในช่วงระยะนี้คงเป็นช่วงระยะการปรับตัวของกองทุนเฮ้ดฟันด์ ที่มีการไถ่ถอนเงิน เพื่อรอดูทิศทางของปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดจากปัญหาซัพไพร์มรอบ 2 คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันในครึ่งปีหลัง ราคาน้ำมันก็ยังมีทิศทางสูงต่อไป ซึ่งอาจจะเห็นราคาเบนซินใกล้เพดาน 50 บาทต่อลิตรในช่วงปลายปี

          ผลกระทบของธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง แต่ภาคธุรกิจไม่สามารถปรับราคาได้ เนื่องจากภาคประชาชนก็มีปัญหาจากราคาน้ำมันเช่นกัน ได้ก่อให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเป็นปัญหามาจากเงินตึงตัว เห็นได้จากระบบเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ลดลงถึง 2.48 แสนล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 3.97 ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากในทุกรูปแบบ ซึ่งอัตราเงินฝากประเภทออมทรัพย์เดิมอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.50 – 0.75 ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.5 – 2.75 สำหรับเงินฝากประจำเดิมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 – 2.5 ปัจจุบันก็ไปอยู่ที่ร้อยละ 3.5 – 4.0 ดังนั้น ทิศทางของดอกเบี้ยในขณะนี้จึงเป็นขาขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นที่ทาง ธปท. ต้องปรับดอกเบี้ย โดยในช่วงสัปดาห์ที่มีการปรับดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูง แต่เป็นการชี้นำให้ธนาคารพาณิชย์เร่งที่จะมีการปรับดอกเบี้ย โดยดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทกำหนดระยะเวลา MLR สำหรับลูกค้าชั้นดี จะมีการปรับจากร้อยละ 7.75 เป็นร้อยละ 8.25 และสำหรับลูกค้าทั่วไป จะมีการปรับจากร้อยละ 8.5 เป็น ร้อยละ 9.25 สำหรับดอกเบี้ยโอดี หรือ MOR ก็มีการปรับจากร้อยละ 7.5 เป็นร้อยละ 8.5 เห็นได้ว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อเงินฝากห่างกันถึงร้อยละ 6.0-6.5 ซึ่งการที่ดอกเบี้ยสูงเป็นการซ้ำเติมธุรกิจที่ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งที่สุดภาระก็ไปตกอยู่กับผู้บริโภค และไปกดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งมาตรการของภาครัฐที่เกี่ยวกับการดูแลเงินเฟ้อ จึงไม่ควรใช้สูตรสำเร็จท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎี

          ทั้งนี้ มาตรการของกระทรวงการคลัง ในการลดส่วนต่างของดอกเบี้ยระหว่างเงินฝากกับเงินกู้ให้ต่างกัน 2% จึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นถึงรัฐบาลมีการเข้าใจปัญหาที่ภาคธุรกิจประสบ แต่ประเด็นก็คือ หากธนาคารพาณิชย์ยังคงใช้มาตรการหลักประกันเงินกู้ โดยใช้ตามระบบมาตรฐานดังที่เคยปฏิบัติ วิสาหกิจขนาดย่อมรวมทั้ง SMEs ก็ไม่สามารถได้ประโยชน์จากมาตรการนี้ ซึ่งธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ก็คงจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และบริษัทข้ามชาติ ซึ่งในอดีตรัฐบาลที่แล้วก็มีโครงการ SMEs Fund ซึ่งมีทั้งกองทุนและอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยให้ธนาคารของรัฐเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อ ซึ่งวิธีการก็คล้ายกับมาตรการครั้งนี้ แต่ภายใต้นโยบาย SMEs Fund หลังจากปิดโครงการก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ดังนั้น กระทรวงการคลังควรจะมีการกำหนดแนวทางโดยกำหนดจากปัญหาการปล่อยสินเชื่อในอดีต ซึ่งเห็นว่าโครงการนี้ดูว่าดีแต่ควรจะมีวิธีการให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่ระดับ SMEs ซึ่งในช่วงนี้ภาคธุรกิจถือเป็นช่วงวิกฤติ ทางภาครัฐจึงไม่ควรดูแต่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น โดยบอกว่าเศรษฐกิจยังดี เนื่องจากตัวเลขการส่งออกในเดือนมิถุนายนยังขยายตัวได้ร้อยละ 27.4  ซึ่งการส่งออกปีนี้ก็น่าจะทะลุเป้า ซึ่งการดูแต่ตัวเลขนี้จะทำให้รัฐบาลไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดจากภาคธุรกิจ ซึ่งตัวเลขการเติบโตทางธุรกิจและหรือการส่งออกส่วนหนึ่งจะไปกระจุกตัวอยู่ในบาง Sector เช่น ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ยังมีการเติบโตที่ดีมาก แต่ถ้ารวมกันแล้วก็ไม่น่าจะเกิน 10 บริษัท ปัญหาของภาคธุรกิจและการผลิตในขณะนี้ต้องได้รับการเยียวยา โดยเฉพาะ SMEs และผู้ประกอบการในต่างจังหวัด มีความเดือดร้อนจริงๆ เอาแค่ว่าต้นทุนสูง , ตลาดหดตัวและปรับราคาไม่ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ธุรกิจทั้งรายย่อยและรายใหญ่ก็ล้วนประสบ เพียงแต่ว่าใครจะมีสายป่านยาวและมีความอึด ซึ่งหากเรียกให้เพราะก็คือภูมิคุ้มกันที่ใครจะอยู่ได้นานกว่า ดังนั้น มาตรการต่างๆของรัฐบาลควรจะเร่งออกมาเป็นชุด ทั้งมาตรการเฉพาะหน้าหรือเฉพาะกิจ โดยต้องเร่งอัดฉีดให้เกิดสภาพคล่อง เพิ่มอุปสงค์ ให้กับระดับรากหญ้าและ SMEs ส่วนมาตรการระยะถัดไปก็จะเกี่ยวข้องกับมาตรการสร้างบรรยากาศในการลงทุนให้เกิดความเชื่อมั่น ซึ่งเกิดจากความไม่สมานฉันท์ทางการเมือง รวมถึง ต้องมียุทธศาสตร์พลังงานที่เป็นวาระแห่งชาตินโยบายแก้ปัญหาพลังงานและเศรษฐกิจไม่ควรออกมาเป็นรายวันหรือแยกส่วน เพราะพลังงานทางเลือกจะเกี่ยวข้องกับการจัดโซนนิ่งภาคเกษตร ซึ่งหากแก้ปัญหาระยะสั้นก็จะไปเกิดปัญหาวิกฤติราคาอาหารราคาแพง ถึงแม้จะมีคำตอบจากทฤษฎี 2 สูง (เกษตรราคาสูง และค่าแรงราคาสูง) แต่หากจะใช้ทฤษฎีนี้จริง ก็คงจะต้องเพิ่มอีก 2 สูง คือ เงินเฟ้อสูงและดอกเบี้ยสูง ..

*****************

 

" />
       
 

มาตรการการลดส่วนต่างดอกเบี้ยของกระทรวงการคลัง Share


มาตรการการลดส่วนต่างดอกเบี้ยของกระทรวงการคลัง..

สามารถช่วย SMEs ในยุควิกฤติเศรษฐกิจได้หรือไม่

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

          กระทรวงการคลังโดยรัฐมนตรี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ได้มีนโยบายให้ธนาคารของรัฐ จัดตั้งเป็นธนาคารเฉพาะกิจ ในการปล่อยสินเชื่ออัตราต่ำให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs โดยอัตราดอกเบี้ยจะมีช่องว่างส่วนต่าง 2% ระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งมาตรการนี้คงจะเป็นมาตรการช่วยภาคธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งต้องเข้าใจว่าปัญหาภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อันเป็นสาเหตุที่เกิดจากวิกฤติราคาน้ำมัน ซึ่งเฉพาะในครึ่งปีแรก ราคาน้ำมันได้ปรับตัวไปถึงร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับในปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันทั้งปีมีการปรับตัวสูงขึ้นเพียงร้อยละ 26 ถึงแม้ว่าช่วงนี้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลอาจมีการเคลื่อนไหวในราคาที่ลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ซึ่งน่าจะเป็นในลักษณะชั่วคราว เนื่องจาก  สต๊อกน้ำมันของสหรัฐฯมีการเพิ่มขึ้นและเป็นที่น่าสังเกตุว่า ราคาน้ำมันเวสต์เท็กซัส (WTI : West Texas Intermediate) มีราคาต่ำลงอย่างผิดปกติ คือต่ำกว่าราคาน้ำมันดูไบ ซึ่งปกติจะมีราคาต่ำกว่าประมาณร้อยละ 12-15 โดยราคา ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 51 อยู่ที่ระดับ 127.95 ดอลล่าร์ต่อบาเรล ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดูไบที่อยู่ในระดับ 128.82 ดอลล่าร์ต่อบาเรล  โดยราคา WTI จะเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่ากว่าร้อยละ 50 ของสัญญาล่วงหน้าที่ซื้อขายกันทั่วโลก เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดูไบ (ซึ่งเป็นราคาที่ ปตท. อ้างอิง) มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 10 เมื่อราคาตลาด WTI ลงก็เป็นการชี้นำให้ราคาน้ำมันในทุกตลาดต้องปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันคาดการณ์ว่าในช่วงระยะนี้คงเป็นช่วงระยะการปรับตัวของกองทุนเฮ้ดฟันด์ ที่มีการไถ่ถอนเงิน เพื่อรอดูทิศทางของปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดจากปัญหาซัพไพร์มรอบ 2 คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันในครึ่งปีหลัง ราคาน้ำมันก็ยังมีทิศทางสูงต่อไป ซึ่งอาจจะเห็นราคาเบนซินใกล้เพดาน 50 บาทต่อลิตรในช่วงปลายปี

          ผลกระทบของธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง แต่ภาคธุรกิจไม่สามารถปรับราคาได้ เนื่องจากภาคประชาชนก็มีปัญหาจากราคาน้ำมันเช่นกัน ได้ก่อให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเป็นปัญหามาจากเงินตึงตัว เห็นได้จากระบบเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ลดลงถึง 2.48 แสนล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 3.97 ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากในทุกรูปแบบ ซึ่งอัตราเงินฝากประเภทออมทรัพย์เดิมอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.50 – 0.75 ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.5 – 2.75 สำหรับเงินฝากประจำเดิมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 – 2.5 ปัจจุบันก็ไปอยู่ที่ร้อยละ 3.5 – 4.0 ดังนั้น ทิศทางของดอกเบี้ยในขณะนี้จึงเป็นขาขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นที่ทาง ธปท. ต้องปรับดอกเบี้ย โดยในช่วงสัปดาห์ที่มีการปรับดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูง แต่เป็นการชี้นำให้ธนาคารพาณิชย์เร่งที่จะมีการปรับดอกเบี้ย โดยดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทกำหนดระยะเวลา MLR สำหรับลูกค้าชั้นดี จะมีการปรับจากร้อยละ 7.75 เป็นร้อยละ 8.25 และสำหรับลูกค้าทั่วไป จะมีการปรับจากร้อยละ 8.5 เป็น ร้อยละ 9.25 สำหรับดอกเบี้ยโอดี หรือ MOR ก็มีการปรับจากร้อยละ 7.5 เป็นร้อยละ 8.5 เห็นได้ว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อเงินฝากห่างกันถึงร้อยละ 6.0-6.5 ซึ่งการที่ดอกเบี้ยสูงเป็นการซ้ำเติมธุรกิจที่ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งที่สุดภาระก็ไปตกอยู่กับผู้บริโภค และไปกดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งมาตรการของภาครัฐที่เกี่ยวกับการดูแลเงินเฟ้อ จึงไม่ควรใช้สูตรสำเร็จท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎี

          ทั้งนี้ มาตรการของกระทรวงการคลัง ในการลดส่วนต่างของดอกเบี้ยระหว่างเงินฝากกับเงินกู้ให้ต่างกัน 2% จึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นถึงรัฐบาลมีการเข้าใจปัญหาที่ภาคธุรกิจประสบ แต่ประเด็นก็คือ หากธนาคารพาณิชย์ยังคงใช้มาตรการหลักประกันเงินกู้ โดยใช้ตามระบบมาตรฐานดังที่เคยปฏิบัติ วิสาหกิจขนาดย่อมรวมทั้ง SMEs ก็ไม่สามารถได้ประโยชน์จากมาตรการนี้ ซึ่งธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ก็คงจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และบริษัทข้ามชาติ ซึ่งในอดีตรัฐบาลที่แล้วก็มีโครงการ SMEs Fund ซึ่งมีทั้งกองทุนและอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยให้ธนาคารของรัฐเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อ ซึ่งวิธีการก็คล้ายกับมาตรการครั้งนี้ แต่ภายใต้นโยบาย SMEs Fund หลังจากปิดโครงการก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ดังนั้น กระทรวงการคลังควรจะมีการกำหนดแนวทางโดยกำหนดจากปัญหาการปล่อยสินเชื่อในอดีต ซึ่งเห็นว่าโครงการนี้ดูว่าดีแต่ควรจะมีวิธีการให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่ระดับ SMEs ซึ่งในช่วงนี้ภาคธุรกิจถือเป็นช่วงวิกฤติ ทางภาครัฐจึงไม่ควรดูแต่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น โดยบอกว่าเศรษฐกิจยังดี เนื่องจากตัวเลขการส่งออกในเดือนมิถุนายนยังขยายตัวได้ร้อยละ 27.4  ซึ่งการส่งออกปีนี้ก็น่าจะทะลุเป้า ซึ่งการดูแต่ตัวเลขนี้จะทำให้รัฐบาลไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดจากภาคธุรกิจ ซึ่งตัวเลขการเติบโตทางธุรกิจและหรือการส่งออกส่วนหนึ่งจะไปกระจุกตัวอยู่ในบาง Sector เช่น ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ยังมีการเติบโตที่ดีมาก แต่ถ้ารวมกันแล้วก็ไม่น่าจะเกิน 10 บริษัท ปัญหาของภาคธุรกิจและการผลิตในขณะนี้ต้องได้รับการเยียวยา โดยเฉพาะ SMEs และผู้ประกอบการในต่างจังหวัด มีความเดือดร้อนจริงๆ เอาแค่ว่าต้นทุนสูง , ตลาดหดตัวและปรับราคาไม่ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ธุรกิจทั้งรายย่อยและรายใหญ่ก็ล้วนประสบ เพียงแต่ว่าใครจะมีสายป่านยาวและมีความอึด ซึ่งหากเรียกให้เพราะก็คือภูมิคุ้มกันที่ใครจะอยู่ได้นานกว่า ดังนั้น มาตรการต่างๆของรัฐบาลควรจะเร่งออกมาเป็นชุด ทั้งมาตรการเฉพาะหน้าหรือเฉพาะกิจ โดยต้องเร่งอัดฉีดให้เกิดสภาพคล่อง เพิ่มอุปสงค์ ให้กับระดับรากหญ้าและ SMEs ส่วนมาตรการระยะถัดไปก็จะเกี่ยวข้องกับมาตรการสร้างบรรยากาศในการลงทุนให้เกิดความเชื่อมั่น ซึ่งเกิดจากความไม่สมานฉันท์ทางการเมือง รวมถึง ต้องมียุทธศาสตร์พลังงานที่เป็นวาระแห่งชาตินโยบายแก้ปัญหาพลังงานและเศรษฐกิจไม่ควรออกมาเป็นรายวันหรือแยกส่วน เพราะพลังงานทางเลือกจะเกี่ยวข้องกับการจัดโซนนิ่งภาคเกษตร ซึ่งหากแก้ปัญหาระยะสั้นก็จะไปเกิดปัญหาวิกฤติราคาอาหารราคาแพง ถึงแม้จะมีคำตอบจากทฤษฎี 2 สูง (เกษตรราคาสูง และค่าแรงราคาสูง) แต่หากจะใช้ทฤษฎีนี้จริง ก็คงจะต้องเพิ่มอีก 2 สูง คือ เงินเฟ้อสูงและดอกเบี้ยสูง ..

*****************

 


ไฟล์ประกอบ : 174_TNT.pdf
อ่าน : 2167 ครั้ง
วันที่ : 24/07/2008

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com