การใช้ Supply Chain Best Practice เป็นกลยุทธ์ขององค์กร

ธนิต  โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

การที่จะนำระบบ Logistics – Supply Chain ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในภาคธุรกิจ จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ในการนำระบบการจัดการโซ่อุปทานโลจิสติกส์ที่เป็รเลิศ ที่เรียกว่า “Best Practice Strategy Plan” ไปใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยต้องตั้งเป้าหมายให้สามารถแข่งขันได้ในระดับการค้าสากล รวมถึง การนำการจัดการ Supply Practice ไปใช้ในการลดต้นทุนโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบและมีดรรชนีชี้วัด (KPI) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆทางโลจิสติกส์ โดยเฉพาะผู้บริหารหรือผู้ประกอบการกิจการ SMEs ซึ่งอยู่ในส่วนต่างจังหวัด (หรือในส่วนกลาง) ควรเร่งศึกษาทำความเข้าใจเป็นการช่วงสร้างโอกาสทางธุรกิจ ในยุคเศรษฐกิจใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานออกไปสู่ระดับโลก (Global Supply Chain) โดยธุรกิจที่เป็นแกน (Business Core) จะมีความเป็นไปได้มากกว่าในการที่จะเป็นแกนนำในการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรธุรกิจ โดยกระบวนการในการนำระบบ Supply Chain Best Practice เข้ามาใช้ในธุรกิจ อาจประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ ประการแรก ธุรกิจที่เป็นแกนนำจะต้องมีการปรับปรุงองค์กรภายในให้แต่ละหน่วยงานมีการนำระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์เข้ามาใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ , การเคลื่อนย้ายสินค้า , การจัดเก็บสินค้า , การขนส่งและการกระจายสินค้า ประการที่สอง สำหรับการบริหารเครือข่ายของซัพพลายเออร์ อาจเลือกคู่ค้าซึ่งมีความพร้อมหรือคู่ค้าที่มีตัวเลขการซื้อสินค้าในระยะเริ่มแรก แผนกจัดซื้อจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันในการรวมกลุ่มซัพพลายเออร์เข้ามาไว้ในเครือข่าย ประการที่สาม ให้มีการจัดตั้งแผนก Customer Service ทั้งในบริษัทและกับคู่ค้า โดยให้ความรู้และความเข้าใจกับพนักงานซึ่งทำหน้าที่เป็น Customer Service ให้มีการประสานความร่วมมือ ภายใต้วัตถุประสงค์รวมกันในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และการลดต้นทุนโลจิสติกส์ร่วมกัน ประการที่สี่ ในแต่ละองค์กรทั้งภายในและภายนอกองค์กรให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลังและต้นทุนการเคลื่อนย้ายสินค้าและการส่งมอบสินค้าให้เป็นเครือข่ายทางธุรกิจร่วมกัน (Collaborate Business Network) ประการที่ห้า จะต้องทำเป็นแผนงานในลักษณะเป็นแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) โดยมีเป้าหมายตัวชี้วัด , กรอบเวลาที่ชัดเจน รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้เพียงพอ เช่น บุคลากร , งบประมาณเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนประสิทธิผลของการดำเนินงานในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างความได้เปรียบ , เพิ่มกำไร , ลดต้นทุน เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ทุกธุรกิจในเครือข่าย ซึ่งได้มีการวมกลุ่มเป็นห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน 

" />
       
 

การใช้ Supply Chain Best Practice เป็นกลยุทธ์ขององค์กร Share


การใช้ Supply Chain Best Practice เป็นกลยุทธ์ขององค์กร

ธนิต  โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

การที่จะนำระบบ Logistics – Supply Chain ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในภาคธุรกิจ จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ในการนำระบบการจัดการโซ่อุปทานโลจิสติกส์ที่เป็รเลิศ ที่เรียกว่า “Best Practice Strategy Plan” ไปใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยต้องตั้งเป้าหมายให้สามารถแข่งขันได้ในระดับการค้าสากล รวมถึง การนำการจัดการ Supply Practice ไปใช้ในการลดต้นทุนโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบและมีดรรชนีชี้วัด (KPI) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆทางโลจิสติกส์ โดยเฉพาะผู้บริหารหรือผู้ประกอบการกิจการ SMEs ซึ่งอยู่ในส่วนต่างจังหวัด (หรือในส่วนกลาง) ควรเร่งศึกษาทำความเข้าใจเป็นการช่วงสร้างโอกาสทางธุรกิจ ในยุคเศรษฐกิจใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานออกไปสู่ระดับโลก (Global Supply Chain) โดยธุรกิจที่เป็นแกน (Business Core) จะมีความเป็นไปได้มากกว่าในการที่จะเป็นแกนนำในการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรธุรกิจ โดยกระบวนการในการนำระบบ Supply Chain Best Practice เข้ามาใช้ในธุรกิจ อาจประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ ประการแรก ธุรกิจที่เป็นแกนนำจะต้องมีการปรับปรุงองค์กรภายในให้แต่ละหน่วยงานมีการนำระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์เข้ามาใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ , การเคลื่อนย้ายสินค้า , การจัดเก็บสินค้า , การขนส่งและการกระจายสินค้า ประการที่สอง สำหรับการบริหารเครือข่ายของซัพพลายเออร์ อาจเลือกคู่ค้าซึ่งมีความพร้อมหรือคู่ค้าที่มีตัวเลขการซื้อสินค้าในระยะเริ่มแรก แผนกจัดซื้อจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันในการรวมกลุ่มซัพพลายเออร์เข้ามาไว้ในเครือข่าย ประการที่สาม ให้มีการจัดตั้งแผนก Customer Service ทั้งในบริษัทและกับคู่ค้า โดยให้ความรู้และความเข้าใจกับพนักงานซึ่งทำหน้าที่เป็น Customer Service ให้มีการประสานความร่วมมือ ภายใต้วัตถุประสงค์รวมกันในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และการลดต้นทุนโลจิสติกส์ร่วมกัน ประการที่สี่ ในแต่ละองค์กรทั้งภายในและภายนอกองค์กรให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลังและต้นทุนการเคลื่อนย้ายสินค้าและการส่งมอบสินค้าให้เป็นเครือข่ายทางธุรกิจร่วมกัน (Collaborate Business Network) ประการที่ห้า จะต้องทำเป็นแผนงานในลักษณะเป็นแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) โดยมีเป้าหมายตัวชี้วัด , กรอบเวลาที่ชัดเจน รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้เพียงพอ เช่น บุคลากร , งบประมาณเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนประสิทธิผลของการดำเนินงานในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างความได้เปรียบ , เพิ่มกำไร , ลดต้นทุน เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ทุกธุรกิจในเครือข่าย ซึ่งได้มีการวมกลุ่มเป็นห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน 


ไฟล์ประกอบ : 128_Supply Chain Best Practice.pdf
อ่าน : 2416 ครั้ง
วันที่ : 12/10/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com