บทความเรื่อง :: หากน้ำมันราคาทะยานไปลิตรละ 50 บาท ผลกระทบที่จะมีต่อภาคการผลิตและประเทศไทย??
 


บทความพิเศษสายงานโลจิสติกส์

วิกฤติราคาน้ำมัน ทางออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหน

โดยธนิต  โสรัตน์

รองประธาน และประธานสายงานโลจิสติกส์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

10 มิถุนายน 2551

หากน้ำมันราคาทะยานไปลิตรละ 50 บาท

ผลกระทบที่จะมีต่อภาคการผลิตและประเทศไทย??

เป็นที่ทราบกันดีว่าราคาน้ำมันในปัจจุบันมีการปรับราคาอย่างต่อเนื่อง โดยที่น้ำมันเป็นต้นทุนสำคัญของการขนส่ง ซึ่งการขนส่งเป็นต้นทุนสำคัญกว่าร้อยละ 7.79 ของ GDP หรือเป็นสัดส่วนกว่า 41-43% ของต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวม ดังนั้นผลกระทบของราคาน้ำมันซึ่งทำสถิติสูงอย่างต่อเนื่องจนในช่วงต้นเดือนมิถุนายนระดับน้ำมันดิบในตลาดจร (F.O.B.) ทาปิส 135 เหรียญสหรัฐฯ และน้ำมันราคาตลาดเบรนด์และเวสต์เท็กซัส (WT) ราคาใกล้เคียงกันที่ 128 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล สำหรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปดีเซลหมุนเร็วตลาดสิงคโปร์ราคาอยู่ที่ระดับ 158 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล โดยเป็นราคา New High ทำสถิติสูงสุด จากการเปรียบเทียบราคาน้ำมันต้นเดือนมกราคม 2551 น้ำมันดีเซลราคาหน้าปั้ม 28.94 บาท ขณะที่ราคาน้ำมัน ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2551 ราคาอยู่ที่ 39.04 บาท ซึ่งแค่ในช่วงเวลาเพียง 5 เดือน ราคาน้ำมันปรับราคาสูงขึ้น 10.10 บาท ต่อลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34.90 ขณะที่เปรียบเทียบราคาน้ำมันดีเซลทั้งปี 2550 ราคาสูงเพียงร้อยละ 26.15   เห็นได้ว่าการขึ้นราคาน้ำมันเฉพาะในช่วง 5 เดือนของปีนี้ ก็สูงกว่าการปรับขึ้นราคาทั้งปี 2550 หากราคาน้ำมันยังปรับตัวในอัตรานี้ โอกาสที่ราคาจะทะลุ 50 บาท ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ก็มีความเป็นไปได้สูง

สัดส่วนต้นทุนราคาน้ำมันต่อต้นทุนรวมค่าขนส่งเป็นร้อยละ 37.15 (หากไม่รวมค่าเสื่อมราคาจะเป็นร้อยละ 47.87) โดยเฉลี่ยแล้วราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้น 1 บาท จะส่งผลต่อต้นทุนค่าขนส่งร้อยละ 4.35 โดยราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2550 จนถึงปัจจุบัน (ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2551) น้ำมันปรับตัวสูงขึ้น 16.1 บาท คิดเป็นร้อยละ 70.18 ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งต่อ GDP สูงขึ้นถึงร้อยละ 1.19


ไฟล์ประกอบ 164_TNT.pdf


วันที่ 10-06-2008  

 
หน้าหลัก