บทความเรื่อง :: Multi-modal Transportation (MT)
 


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP             

              การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ หมายถึง การขนส่งสินค้า หรือ การเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีลักษณะหน่วยขนส่ง (Loading Unit) หรือ พาหนะที่ใช้ในการขนส่งที่เหมือนกัน โดยอาศัยรูปแบบหรือช่องการในการขนส่งหลายรูปแบบ เช่น ทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ โดยปราศจากการขนถ่ายสินค้าเข้าออกและมีการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (ที่มา : European Conference of Minister of Transport, 1993) โดยแนวคิดและเป้าหมายในการใช้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมุ่งเน้นไปที่การทดแทนการขนส่งทางถนนหรือทางรถ การขนส่งลักษณะนี้จะให้ความสำคัญกับอัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถแข่งขันกับอัตราค่าใช้จ่ายทางถนน ซึ่งการขนส่งรูปแบบนี้จะเริ่มเป็นที่ยอมรับหรือน่าสนใจสำหรับผู้ใช้บริการก็ต่อเมื่อมีระยะทางในการขนส่งไม่น้อยกว่า 500 กิโลเมตร เนื่องจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกกว่าการขนส่งทางถนน การขนต่อเนื่องส่งหลายรูปแบบที่เกิดประสิทธิภาพด้านต้นทุน และระยะเวลาในการขนส่งที่รวดเร็ว จะต้องดำเนินการในลักษณะที่ไม่มีการถ่ายเปลี่ยนสินค้า หรือตู้คอนเทนเนอร์ โดยในการขนส่งจะมุ่งเน้นไปที่การขนส่งทางรถไฟ ทางแม่น้ำ และทางทะเลเป็นหลัก  เพราะเป็นโหมดที่ประหยัดที่สุด ถ้าจำเป็นจะต้องมีการใช้การขนส่งทางถนนก็จะจำกัดระยะทางที่ใช้ให้น้อยที่สุด โดยอาจจะใช้การขนส่งทางถนนเพียงระยะทางสั้น ๆ ที่ต้นทางหรือปลายทางในการขนส่งสินค้าเท่านั้น  ทั้งนี้ การขนส่งระหว่างประเทศ จำต้องใช้รูปแบบการขนส่งอย่างน้อยสองรูปแบบขึ้นไป เชื่อมต่อกัน ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงไม่มีรูปแบบการขนส่งใด ที่จะมีศักยภาพในการเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดของสินค้ากับแหล่งความต้องการบริโภค ให้เข้าถึงกันได้โดยไม่ต้องใช้รูปแบบการขนส่งอื่น” Multimodal Transport เป็นการผสมผสานการขนส่งสินค้า จากที่หนึ่งที่ใด (One Point) หรือจากประเทศหนึ่งประเทศใด ไปสู่อีกที่หนึ่งหรืออีกประเทศหนึ่งซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่เป็นจุดพบสุดท้าย (Interface Final Point) โดยใช้รูปแบบการขนส่งตั้งแต่ 2 รูปแบบขึ้นไป ภายใต้การบริหารจัดการของผู้ขนส่งรายเดียว และมีสัญญาขนส่งฉบับเดียวหรือเป็นวิธีการขนส่งสินค้าแบบเบ็ดเสร็จที่ครอบคลุมการขนส่งทุกประเภท โดยผู้ประกอบการเพียงรายเดียว ในการสนองความต้องการของกระบวนการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Logistics โดย Multimodal Transport เป็นการผสมผสานการขนส่งสินค้า จากที่หนึ่งที่ใด (One Point) หรือจากประเทศหนึ่งประเทศใด ไปสู่อีกที่หนึ่งหรืออีกประเทศหนึ่งซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่เป็นจุดพบสุดท้าย (Interface Final Point) โดยใช้รูปแบบการขนส่งตั้งแต่ 2 รูปแบบขึ้นไป ภายใต้การบริหารจัดการของผู้ขนส่งรายเดียว และมีสัญญาขนส่งฉบับเดียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาของการขนส่ง (Just In Time) , ลดต้นทุน (Reduce Transport Cost) , เพิ่มประสิทธิภาพให้มีศักยภาพการแข่งขัน (Core Competitiveness) และให้สินค้ามีและความปลอดภัยที่ดีกว่า (More Cargoes Security) หรือเป็นวิธีการขนส่งสินค้าแบบเบ็ดเสร็จที่ครอบคลุมการขนส่งทุกประเภท โดยผู้ประกอบการเพียงรายเดียว ในการสนองความต้องการของกระบวนการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Logistics และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของธุรกิจ  ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ Supply Chain ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนของคลังสินค้า , ต้นทุนที่เกี่ยวกับการผลิต และการกระจายสินค้า โดยปัจจัยสำคัญของโลจิสติกส์จะอยู่ที่กระบวนเคลื่อนย้ายสินค้า (Cargoes) ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นเรื่องของการขนส่ง โดยที่โลจิสติกส์เมื่อดำเนินกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศ กระบวนการขนส่งจึงเป็น “International Transportation” คือ ขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุม Mode ของการขนส่งทุกประเภท ซึ่งจาก Incoterm 2000 จะพบหลายเงื่อนไข ซึ่งได้กล่าวถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งนับเป็นรูปแบบการขนส่งที่จะมีบทบาทที่สำคัญต่อกระบวนการโลจิสติกส์ ทั้งนี้ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ จะปรากฎอยู่ในเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศที่เรียกว่า “Incoterm 2000” เช่น CPT , CIP , DDU และ DDP เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการมอบความรับผิดชอบให้ผู้ขนส่งที่เรียกว่า “Carriage” ซึ่งโดยทางปฏิบัติจะมีการทำหน้าที่ในการเชื่อมวิธีการขนส่งของที่แตกต่างกันเข้าด้วยกันกรณีของประเทศไทยเกี่ยวกับ Multimodal Transport (MT) ผู้ประกอบการ  ขนส่งจะต้องมอง Multimodal Transport Operator (MT) ในฐานะเป็นกลไกในการที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับโลก สำหรับการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวกับเครือข่าย Network โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศในการที่จะนำบริหารจัดการ Logistics จะมีส่วนในการ เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานที่มีความแตกต่างกันในแต่ละอาณาบริเวณของตลาด  สำหรับการเตรียมตัวอย่างอื่นนั้น เห็นได้จากการต้องยื่นคำขอในการขอเป็นผู้ประกอบการขนส่งหลายรูปแบบ ซึ่งเจ้าของเรื่อง คือ คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชนาวี ซึ่งจะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองสถานะให้เป็นผู้ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งจะต้องเป็นนิติบุคคลประกอบการขนส่งระหว่างประเทศมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท หากเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งใหม่ ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 4 ล้านบาท ต้องจัดให้มีการค้ำประกันความรับผิดทางแพ่ง ไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท และต้องมีกรรมการอย่างน้อย 1 คน มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการขนส่งระหว่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 5 ปี ส่วนรายละเอียดอื่นๆคงต้องใช้เนื้อที่พอสมควร จึงจะบอกได้ครบถ้วน

 

 


ไฟล์ประกอบ ไม่มีไฟล์


วันที่ 27-04-2007  

 
หน้าหลัก