บทความเรื่อง :: Outsources
 


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP 

              Outsources คือผู้ให้บริการภายนอก เป็นกลุ่มของบุคคล หรือผู้ประกอบการ ภายนอก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในงานหนึ่งงานใด ซึ่งมีความสามารถที่จะเข้ารับบทบาททำงานนั้นได้ดีกว่าที่องค์กรจะดำเนินการด้วยตนเอง โดยมีผลลัพธ์ที่ดีกว่า ทั้งประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การให้ผู้ประกอบการให้บริการภายนอก รับงานที่มีความสำคัญที่น้อยกว่าไปทำ โดยองค์กรเลือกที่จะดำเนินงานเฉพาะที่มีความสำคัญที่คุ้มค่ากว่า หรืออาจ ให้คำนิยาม Outsource ได้ว่า กิจกรรมทางด้านผู้ให้บริการ  Logistics ไว้ว่า“การเลือกสรรให้องค์กรภายนอกมาดำเนินกิจกรรม  Logistics บางส่วนหรือทั้งหมดให้กับบริษัทภายใต้สัญญาเพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าธรรมเนียม

ผู้ให้บริการงาน Outsource อาจแบ่งออกเป็น 4 ประเภท  :

1. Subcontractor เป็นรูปแบบการให้บริการแบบดั้งเดิมโดยการตัดช่วงงาน ซึ่งมีการแบ่งงานที่ไม่ซับซ้อนให้กับผู้ให้บริการภายนอกรับเหมาไปจัดการ ซึ่งอาจเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการในลักษณะที่ไม่ต้องใช้แรงงาน , ทักษะ หรือเทคโนโลยีมากนัก หรือเป็นงานที่ใช้ความเสี่ยงที่สูง ซึ่งจะเป็นการประหยัดกว่าให้ผู้ให้บริการภายนอกรับงานไป

2. Logistics Provider เป็นลักษณะของการให้บริการจัดการงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Logistics โดยงานที่ให้บริการจะเป็นกิจกรรมที่สัมพันธ์เป็นกระบวนการ ซึ่งลักษณะงานจะมีการซับซ้อนกว่า Subcontract ต้องใช้ทักษะความชำนาญเฉพาะด้านและเทคโนโลยี แต่การมอบหมายงาน ยังมีลักษณะไม่เป็นเชิงบูรณาการ โดยผู้ว่าจ้าง (User) อาจใช้ Provider หลายราย  โดยผู้ว่าจ้างยังคงเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการ เพื่อให้งานซึ่งมอบหมายให้กับ Logistics Provider แต่ละรายมีการเชื่อมโยงกัน

3. Third Party Logistics (3PL) เป็นผู้ให้บริการงานที่เกี่ยวกับ Logistics ซึ่งการให้บริการจะต้องอาศัยทักษะและเครือข่ายธุรกิจในระดับ Global Network โดยมีเครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยีและการลงทุน โดยลักษณะงานที่ให้บริการจะมีขอบเขตความรับผิดชอบที่กว้างขวาง โดยเป็นตัวแทนของผู้ว่าจ้าง (User) กับลูกค้าหรือคู่ค้า และมีการเชื่อมโยงมีความเป็นบูรณาการ โดยผู้ใช้บริการจะเป็น Real User ค่อนข้างแท้จริง ผู้ให้บริการลักษณะนี้ได้จะต้องมีการลงทุนที่สูง โดยเฉพาะจะต้องมีเครือข่ายในระดับโลก

             การพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ จะต้องเข้าใจถึงโครงสร้างของประเภทผู้ให้บริการ โดยจะต้องไม่ยึดถือตามรูปแบบหรือทฤษฎี ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีการแบ่ง Outsourcing ข้างต้น แต่โดยแก่นแท้ของผู้ประกอบการ (Provider) ไม่ได้มีการแบ่งไปตามกฎเกณฑ์นั้น การให้บริการเป็นไปตามลักษณะความเป็นมาและการพัฒนาการของแต่ละธุรกิจ สำหรับในประเทศไทย ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นของธุรกิจของคนไทยจะอยู่ในระดับ Subcontractor  และ  Logistics Provider จะมีเพียงน้อยราย สำหรับ Third Party Logistics ทั้งหมดเป็นของบริษัทข้ามชาติ ดังนั้น การพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ จึงจะต้องเข้าใจโครงสร้างของผู้ประกอบการ Provider ในประเทศไทย

            Logistics เป็นกระบวนการส่วนหนึ่งอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management : SCM) โดยโลจิสติกส์จะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและการไหลลื่น (Moving & Flow) ของสินค้าและบริการ , ข้อมูลข่าวสาร และทุน ปัจจัยสำคัญของการนำระบบโลจิสติกส์มาใช้ก็เพื่อสนับสนุนกระบวนการต่างๆใน Supply Chain ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่สำคัญ ซึ่งได้แก่การเพิ่มขีดความสามารถ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของการลดต้นทุน ซึ่งกุญแจสำคัญจะเกี่ยวข้องกับการกระจายต้นทุนและความเสี่ยงไปยังผู้ให้บริการภายนอก (Outsourcing) ดังนั้น การพัฒนาโลจิสติกส์จะต้องพัฒนาทั้งผู้ประกอบการในฐานะผู้รับบริการ (Service User) กับผู้ให้บริการ (Logistics Service) การจัดการโลจิสติกส์ Logistics เป็นการลดต้นทุนรวมโดยวิธี Cost Sharing คือ เฉลี่ยต้นทุนเท่าที่ใช้จริง โดยลดต้นทุนคงที่ให้มากที่สุด ซึ่งต้นทุนส่วนเกินนี้จะถูกผลักไปให้ผู้ให้บริการภายนอก ที่เรียกว่า Logistics Services Provider หรือเรียกว่า Outsources โดยองค์ประกอบของ   กิจกรรมโลจิสติกส์หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจที่จะบริหารกิจกรรมโลจิสติกส์ด้วยตนเองหรือว่าจ้างบริษัทภายนอก มีเหตุผลดังนี้

1. การลดต้นทุนโดยรวม (Total Cost Reduction)

2. แบ่งงานให้ผู้ที่มีต้นทุนในการดำเนินงานที่ต่ำกว่า และทำงานได้ดีกว่าไปทำ (Division of Labour)

3. การลดข้อจำกัดด้านภูมิประเทศ  กฎหมาย และการเมืองและสังคม

4. เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันและทำกำไรได้ดีกว่า

5. เพื่อที่จะได้นำทรัพยากรที่มีไปใช้ในงานที่มีความสำคัญกว่า

           ความสำเร็จของโลจิสติกส์ จะมุ่งไปสู่การลดต้นทุนและความรวดเร็ว เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ลดต้นทุนคงที่  (Fixed Cost) ที่สูง ดังนั้นความสำเร็จจะอยู่ที่ให้มีธุรกิจภายนอกรับงานไปทำ โดยองค์กรจะจ่ายเงินเท่าที่ผลิตสินค้าเพื่อขายไม่ใช่ผลิตเพื่อนำไปเป็น Stock โดยทำให้ค่าใช้จ่ายด้าน Supply Chain เป็นค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable Cost) ให้มากที่สุด เพื่อที่จะขจัดแรงงานส่วนเกิน (Head Count Reduction) จำนวนมากหรือมีคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยสินค้าและวัตถุดิบ มีรถขนส่งของตนเองจอดเรียงราย ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เป็นต้นทุนทั้งสิ้น…

 


ไฟล์ประกอบ ไม่มีไฟล์


วันที่ 27-04-2007  

 
หน้าหลัก