บทความเรื่อง :: SUPPLY CHAIN กลยุทธ์ในการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า
 


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP           


           กิจกรรมที่สำคัญของกระบวนการตลาด คือ ความพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ซึ่งจะเป็นปฏิกริยาก่อให้เกิดความสามารถที่เหนือกว่าในการแข่งขัน วัตถุประสงค์หลักของ Supply Chain Management (SCM)  ก็จะเกี่ยวกับ Competitiveness จึงเป็นเรื่องที่มีความคล้องจองในการผลักดันให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนได้อย่างมาก โดยอาศัยการส่งมอบแบบ Just In Time เพื่อให้สินค้าส่งมอบให้ลูกค้าแบบทันเวลาและการผลิตที่ไม่เน้นเชิงปริมาณมากที่เรียกว่า Mass Scale Production แต่จะใช้การผลิต ที่เรียกว่า Economic of Speech คือ ผลิตตามความต้องการของลูกค้าแต่ละรายก็จะทำให้ไม่มีภาระในต้นทุนด้านการเก็บรักษาสินค้า ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มุ่งให้ลูกค้าเกิดความพอใจ (Customers Satisfaction) หากไม่มีการจัดการโดยการนำห่วงโซ่อุปทานมาเป็นเครื่องมือ ก็จะประสบปัญหา การคาดคะเนความต้องการของลูกค้าผิดพลาด ก็จะทำให้สินค้าขาดแคลน เนื่องจากปัจจุบันโลกยุคใหม่เป็น “World of Change” ธุรกิจหรือการผลิตของโลกปัจจุบันไม่ได้แข่งขันที่ขนาด แต่แข่งกันด้วยความเร็ว คือ เป็น World of Speed ขนาดของกิจการไม่ใช่ปัจจัยที่จะกำหนดขอบเขตของความสามารถในการแข่งขัน ขนาดธุรกิจที่เล็กกว่าอาจแทนที่ด้วยการมีเครือข่าย (Network) ที่มากกว่าอยู่ใกล้ลูกค้ามากกว่าบริการได้เร็วกว่าและสร้าง Customer Satisfaction ได้มากกว่า
Supply Chain จะส่งเสริมกิจกรรมการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีการดำเนินงาน   ในการวางแผนและเป็นแผนกลยุทธ์ โดยการร่วมมือกับทุกหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกอย่างเป็น Team Work ที่เรียกว่า Collaborative Planning Flow ซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการแบบบูรณาการ หรือ Integration Process โดยสิ่งเหล่านี้จะต้องมีเรื่องประสิทธิผลเข้ามาเกี่ยว ต้องคำนึงถึง Collaborative Planning ด้วยว่า ต่างฝ่ายต่างร่วมมือกันมากน้อยเพียงใด การร่วมมือกันแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ (Integration) โดยฝ่ายการตลาดจะต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการในวงแหวนของห่วงโซ่

               การวางแผนหรือการกำหนดแผนงานจะต้องสอดรับที่เป็นระบบ ความล้มเหลวในการบริหาร Logistics และ Supply Chain ย่อมหมายถึงความล้มเหลวของฝ่ายการตลาด นั่นคือจะมีผลต่อการลดลงของส่วนบางตลาด หรือสูญเสียการเป็นผู้นำทางธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในภาครวม ดังนั้นธุรกิจสมัยใหม่มีความจำเป็นต่อการให้ความใส่ใจต่อ Logistics และ Supply Chain การปรับตัวของวงการธุรกิจที่ผ่านมาทั้งการลดขนาดองค์กร (Downsizing) ให้มีความเหมาะสมถึงแม้ว่าจะมีบุคลากรไม่มากนัก แต่ก็สามารถทำงานได้อย่างมากมาย ดังนั้น การจัดการด้านการตลาดจะต้องคำนึงถึงความต้องการและความพอใจของลูกค้าที่เป็น Customer Center ที่แท้จริงไม่ใช่ Marketing Center โดยฝ่ายการตลาดจะต้องเข้าไปสนับสนุนกิจกรรมของ Supply Chain โดยลดขั้นตอนในการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันอยู่อย่างมากมายในการเสนอราคาและการส่งมอบสินค้า ซึ่งจะต้องมีการนำระบบ Information Technology  เพื่อให้ไปสู่การค้าระดับโลก World Class รวมถึง จะต้องให้การดำเนินการของพนักงานเป็นไปด้วยความแม่นยำและเที่ยงตรง โดยความผิดพลาดของมนุษย์นั้น จะต้องลดจำนวนให้เหลือน้อยที่สุด  พร้อมทั้งมีการวัดพฤติกรรมความสามารถของคู่ค้า ได้แก่ Suppliers , Vendor หรือ Outsource ว่ามีความสามารถมากน้อยที่จะสนองตอบแผนกลยุทธ์ได้มากน้อยแค่ไหน โดยฝ่ายการตลาดจะต้องสนับสนุนให้องค์กรลดต้นทุนรวมในการดำเนินการลงมาให้มากที่สุด แต่คงประสิทธิภาพสูงสุดไว้ ซึ่งจะมีผลต่อการลดสินค้าคงคลังของบริษัทให้เหลือน้อยที่สุด โดยตั้งเป้าการใช้ยุทธศาสตร์สต็อกเป็นศูนย์ (Zero Stock) โดยฝ่ายการตลาดจะต้องมีการคาดคะเนยอดขายและกำหนดความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าอย่างแม่นยำ  ทั้งนี้ การบริหาร เพื่อให้เกิดความพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction)  จะมีผลต่อการสร้างฐานความร่วมมือเชื่อมโยงกับลูกค้าให้เป็นแบบบูรณาการในทุกห่วงโซ่ของกระบวนการเพื่อให้มีการเชื่อมกันเป็นวงแหวนแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิด Win-Win Situation ในทุกห่วงโซ่ของ Supply Chain

               V-SERVE GROUP ได้ให้มีการวัดผลความพอใจของลูกค้าอย่างเป็นระบบ ที่เรียกว่า CSIS : Customer Satisfaction Indicator System โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน “ลูกค้าสัมพันธ์ : Customers Relationship” ซึ่งจะมีการไปตรวจเยี่ยมเยียนลูกค้า พร้อมทั้งจัดทำใบสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า โดยมีกระบวนการนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่ระบบ Scorecard ซึ่งจะมี KPI

 การจำแนกคะแนนความพอใจของลูกค้าเป็นข้อๆ ข้อละ 10 คะแนน ดังนี้

o การดำเนินการและจัดส่งสินค้าได้ตามวันเวลาที่ลูกค้ากำหนด
o ความรวดเร็วของการให้ข้อมูลข่าวสาร ประกาศกรมศุลกากร
o ความถูกต้องในการทำใบขนสินค้า
o ความสามารถของ CS ในการตอบคำถามของลูกค้า
o การติดตามรายงานความคืบหน้าของงาน
o ความรวดเร็วในการแจ้งปัญหาให้ลูกค้าทราบในกรณีที่มีปัญหา
o ความรวดเร็วในการแก้ปัญหาที่ลูกค้าไม่พอใจ
o การติดตามเอกสารหลังดำเนินการพิธีการ (ใบแนบ 19 ทวิ,มุมน้ำเงิน)
o ความถูกต้องและรวดเร็วในการวางบิล
o การให้บริการของ Messenger

            การให้คะแนนจะมีการวัดผลเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยถือว่าลูกค้าแต่ละรายจะต้องวัดความพึงพอใจที่เกินกว่า 75% จึงจะผ่าน หากต่ำกว่านี้ถือว่า Customers Service หรือพนักงานที่ให้บริการแก่ลูกค้า จะต้องมีระบบการปรับปรุงการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งจะมีการวัดผลเปรียบเทียบโดยการออกไปสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าในเดือนถัดไป ทั้งนี้ ระบบการวัดความพึงพอใจของลูกค้าอย่างเป็นขั้นเป็นตอนของ V-SERVE GROUP จะเป็นหลักประกันในการให้บริการที่ยึดถือประสิทธิผลและการตอบสนองที่ดีของลูกค้า ที่เรียกว่า Efficiency Customers Response : ECR


 


ไฟล์ประกอบ ไม่มีไฟล์


วันที่ 27-04-2007  

 
หน้าหลัก