บทความเรื่อง :: รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจไทยและการว่างงานไตรมาสที่ 1/2552
 


รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจไทยและการว่างงานไตรมาสที่ 1/2552

สายงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด

โดย ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

วันที่ 24 เมษายน 2552

การค้าโลกหดตัวต่ำสุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง

          IMF และธนาคารโลก ได้มีการประเมินผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจอาจส่งผลให้การค้าโลกในปี 2552 หดตัวติดลบร้อยละ -6.0 ถึง -9.0 และยังประเมินว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปีนี้ซึ่งเดิมคาดว่าจะติดลบร้อยละ -0.5 แต่ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้รุนแรงมากกว่าที่คาดคิด ส่งผลให้เศรษฐกิจของโลกอาจติดลบร้อยละ -1.7 ซึ่งถือว่าต่ำสุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นผลจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายังไม่ถึงจุดต่ำสุด โดยตัวเลขการค้าปลีกเดือนมีนาคมของสหรัฐฯ ติดลบร้อยละ -1.1 และตัวเลขการซื้อบ้านใหม่ของสหรัฐฯ ติดลบถึงร้อยละ -10.8 ต่ำสุดในรอบ 50 ปี ตัวเลขทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซน ก็คาดว่าจะติดลบถึงร้อยละ -2.8 ถึงร้อยละ  -3 ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ต่ำสุดในประวัติการณ์ โดยคาดว่าอาจติดลบไปถึงร้อยละ -5.0 สำหรับประเทศจีน ตัวเลขการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ติดลบร้อยละ -25.7 เดือนมีนาคมติดลบร้อยละ -17.0  ซึ่งเศรษฐกิจโดยรวมของจีนอาจโต +6.1% จากที่เคยเฉลี่ยที่ร้อยละ 9-10 เป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบ 17 ปี

%YOY

2551

2552f

โลก

2.8

-1.70

สหรัฐอเมริกา

1.3

-2.5

กลุ่มยูโรโซน

0.7

-2.8

อังกฤษ

0.7

-3.0

ญี่ปุ่น

-0.7

-5.0

เกาหลีใต้

2.5

-3.5

ไต้หวัน

0.1

-3.0

ฮ่องกง

2.6

-3.8

สิงคโปร์

1.2

-5.0

ไทย

2.6

-3.7 ถึง -4.5

          กรณีประเทศไทย เศรษฐกิจถึงร้อยละ 57 ผูกติดกับเศรษฐกิจโลก ผลกระทบที่ไทยได้รับจากตัวเลขการส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2552 ติดลบถึงร้อยละ -25.8 หากเป็นตัวเลขรวมการส่งออกทองคำจะติดลบร้อยละ -20.35 และภาคการนำเข้าในไตรมาสแรกก็ติดลบถึงร้อยละ -37.97 โดยตลาดหลักของไทยติดลบโดยเฉลี่ยร้อยละ -30 ถึง -35 ส่งผลให้ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยติดลบ  -5.3% ไตรมาสสองอาจติดลบสูงสุดกว่าร้อยละ -6.0% และในไตรมาสที่สามและสี่ จะติดลบลดลง -3.0% และ  -0.5 ตามลำดับ ทำให้ ปี 2552 การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอาจติดลบร้อยละ  -3.7 ถึง -4.5

เหตุผลสำคัญที่ภาคการส่งออกติดลบ ประกอบด้วย

1.   ความต้องการของประเทศ G3 หดตัวตามสภาวะการติดลบทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าลด 1% ส่งออกกระทบ 1.6%

2.      ผู้นำเข้าลดสต๊อกเพื่อลดต้นทุน สต๊อกสินค้าในต่างประเทศยังสูงจนถึงต้น Q2 ปริมาณการสั่งในแต่ละ Order จะลดลง

3.      ทุกประเทศล้วนใช้มาตรการเงินอ่อนค่าและกีดกันทางการค้า และปัญหาเงินสกุลคู่ค้าแข็ง

4.      การแข่งขันสูงและการตัดราคา

5.      สินค้าเกษตรไทย มีต้นทุนสูงจากการแทรกแซงราคา

6.      สถาบันการเงินในประเทศคู่ค้าชะลอปล่อยสินเชื่อ


ไฟล์ประกอบ 028-TNT2552.pdf


วันที่ 28-04-2009  

 
หน้าหลัก