บทความเรื่อง :: ความพร้อมและการเตรียมการ ต่อการใช้ประโยชน์ของเส้นทางหมายเลข R3E
 


เศรษฐกิจของประเทศไทยผูกพันอยู่กับการค้าระหว่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 110 ของ GDP หรือประมาณ 9.530 ล้านล้านบาท ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก การขยายตัวทางการค้าโดยเฉพาะการส่งออกจะต้องมีการเปิดตลาดใหม่โดยอาศัยเส้นทางการค้าซึ่งประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดีกว่าทั้งในด้านศักยภาพและต้นทุนด้านการขนส่ง โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นพม่า , ลาว , กัมพูชา , เวียดนาม รวมทั้งประเทศจีน ซึ่งกำลังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีการเปิดเส้นทางโลจิสติกส์ทางถนนเชื่อมโยงเข้าไปในประเทศเหล่านี้ได้โดยสะดวก ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิรัฐศาสตร์ อยู่ตรงกึ่งกลางของอนุภูมิภาค มีความได้เปรียบทั้งในด้านเศรษฐกิจและเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในประเทศ ซึ่งเชื่อมโยง Corridor Link กับประเทศต่างๆในอนุภูมิภาค ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลาง ”Logistics HUB” ของภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยรัฐบาลทั้งปัจจุบันและที่ผ่านมาได้มีการลงทุนก่อสร้างเส้นทางถนนและโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน

            ทางภาคเหนือของประเทศไทยโครงการเส้นทางหมายเลข R3E ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับประเทศจีนได้ โดยมีระยะทางเพียง 238 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดในการขนส่งทางถนนจากไทยไปจีน ซึ่งมีโครงการในอีก 2 ปีข้างหน้า สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 จะแล้วเสร็จ (ไทยและจีนออกให้คนละครึ่ง) ซึ่งจะทำให้อำเภอเชียงของ กลายเป็นประตูหลักของเส้นทางการค้าสายใหม่ ซึ่งปัจจุบันเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว เป็นเมืองเล็กๆ แต่อนาคตจะเป็นประตูของประเทศ สปป.ลาว ภาคเหนือสู่ประเทศจีนภาคใต้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เห็นความสำคัญ โดยเฉพาะประเด็นการศึกษาถึงการเตรียมการและความพร้อมในแง่การก่อสร้างเส้นทาง โดยเฉพาะประเด็นเตรียมของหน่วยงานของรัฐและเอกชนต่อการใช้ศักยภาพเชิงพื้นที่ของเส้นทางสายนี้ ซึ่งจะเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญมิใช่เพียงแต่ภูมิภาคแต่จะเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ในการเชื่อมการขนส่งของทวีปเอเชีย


ไฟล์ประกอบ 138_ R3.pdf


วันที่ 11-01-2008  

 
หน้าหลัก