บทความเรื่อง :: สำรวจเส้นทางการค้าไทย-ฝรั่งเศส.....กับกรมส่งเสริมการส่งออก
 


โดยธนิต  โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

ผู้เขียนได้รับเชิญให้เดินทางไปฝรั่งเศสร่วมกับคณะของกระทรวงพาณิชย์และอีกหลายหน่วยงานราชการ และภาคเอกชน รวมทั้งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ

           ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นประเทศสำคัญของยุโรป โดยการค้าของไทยกับยุโรปในปีที่แล้ว ประเทศไทยส่งออกเป็นมูลค่า 1,283.39 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยโหมดสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม คอมพิวเตอร์ อัญมณี ยางพารา อาหารทะเล เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถปิคอัพ รวมถึง สินค้าประเภทฟุตแวร์ เฟอร์นิเจอร์ และผลไม้กระป๋อง ส่วนสินค้าที่ไทยมีการนำเข้าจากฝรั่งเศส จะมีมูลค่ารวมกัน 1,865.66 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยโหมดสินค้าที่สำคัญที่ไทยนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับอากาศยาน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 37% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด นอกจากนี้ ก็มีการนำเข้ายา เครื่องจักร เคมี น้ำหอม และเครื่องสำอาง โดยปีที่แล้ว ไทยขาดดุลการค้ากับประเทศฝรั่งเศส 582 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ประเทศฝรั่งเศสนั้นถือเสมือนเป็นเมืองหลวงของยุโรป ซึ่งมีฐานประชากรกว่า 70 ล้านคน และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของโลก มีผู้คนกว่าปีละ 30 ล้านคน เข้ามาท่องเที่ยวในฝรั่งเศส ดังนั้น ลู่ทางในการค้าขายกับฝรั่งเศสจึงมีอนาคต โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งปีที่แล้ว ประเทศไทยมีการส่งออกถือเป็นมูลค่ามากที่สุดของการส่งออกสินค้าไปฝรั่งเศส (เป็นมูลค่าประมาณ 192.31 หรือคิดเป็น 15%) โดยตลาดเสื้อผ้าของฝรั่งเศสนั้นเป็นตลาดที่ใหญ่ โอกาสที่เราจะเข้าไปแทรกตลาดจะมีมาก เนื่องจากชื่อเสียงของฝรั่งเศสในฐานะเป็นเมืองแฟชั่น ดึงดูดให้คนทั่วโลกมาจับจ่ายซื้อเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งเสื้อผ้าราคาถูกของจีนยังเบียดบังเข้าไปยาก ซึ่งสินค้าของจีนมีปัญหาทั้งเรื่องแบบและคุณภาพ สิ่งที่สำคัญสำหรับสินค้าที่จะเข้าไปในฝรั่งเศส โดยที่ประเทศยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่มีความร่ำรวย สินค้าจะต้องเน้นในเรื่อง Design ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับ Life Style โดยสิ่งที่สำคัญจะเกี่ยวข้องกับ คุณภาพ รสนิยม โดยเฉพาะในเรื่องของ Branding ซึ่งคนในยุโรปตะวันตกจะให้ความสำคัญสินค้า International Brand มากกว่า Local Brand ซึ่งตรงนี้ทำให้อุตสาหกรรมของไทย ซึ่งไม่เน้นการสร้าง Brand จะไม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้โดยตรง ธุรกิจไทยส่วนใหญ่จึงเป็นอุตสาหกรรมรับจ้างส่งออกหรือที่เรียกว่า OEM นอกจากนี้ สิ่งสำคัญในการที่จะเข้าถึงตลาดฝรั่งเศสและ EU การที่จะเสริมสร้างให้เกิดเป็น New Brand จะแทรกเข้าไปในตลาดยุโรปนั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเรื่องการวิจัยและพัฒนาในการที่จะสร้างความแตกต่างและการประชาสัมพันธ์ผ่าน Media ต่างๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และจะต้องมีระบบการตลาดที่เป็น Global Niche Market และที่สำคัญ กฎเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ บอกได้เลยว่ามีความยุ่งยากมาก อย่างไรก็ดี ประเทศต่างๆ ของฝรั่งเศสและ EU ในยุโรปตะวันตกล้วนมีระบบโลจิสติกส์ทั้งด้านพื้นฐานและระบบซัพพลายเชนที่เป็นที่หนึ่งของโลก เมื่อสินค้าไทยเข้าไปสู่ฝรั่งเศสก็สามารถกระจายเข้าไปในประเทศต่างๆของ EU ได้ในเวลารวดเร็ว

            ทั้งนี้ ช่องทางในการเข้าสู่ตลาดฝรั่งเศสและยุโรปนั้น หากเป็นผู้ส่งออกรายใหม่ ก็คงจะต้องอาศัยกรมส่งเสริมการส่งออก ซึ่งปัจจุบันทูตพาณิชย์ทั่วโลกก็พร้อมจะเป็นเครือข่ายให้กับผู้ส่งออกไทย นอกจากนี้ ช่องทางการเข้าตลาดจะต้องมีการติดตามเกี่ยวกับ Exhibition และงาน Trade Fair ต่างๆ ที่จะมีการจัดขึ้นเกือบทั้งปี โดย Exhibition หรืองาน Trade Fair ในยุโรปนั้นเขาทำได้ยิ่งใหญ่จริงๆ มีการ Segment แยกประเภทสินค้าที่ชัดเจนและที่สำคัญจะเข้าถึงแหล่งผู้ซื้อจริงๆ ที่เป็น Global Sourcing ดังนั้นการออก Fair ผู้ส่งออกไทยก็จะต้องมีการเตรียมตัวและเป็นมืออาชีพ เพราะตลาดของยุโรปนั้นบอกได้เลยว่าเป็นตลาดที่เข้ายากเป็นตลาดที่มีการพัฒนาและประชากรมีความรู้และใช้ Knowledge Base ในการตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าแต่ละชิ้น ซึ่งต่างกับประเทศไทยที่ส่วนใหญ่ยังซื้อ โดยการใช้อารมณ์และความรู้สึก เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งที่ตรงนี้ภาครัฐหรือกรมส่งเสริมการส่งออก ควรจะให้ความรู้และความเข้าใจในการที่จะให้ความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ส่งออกรายใหม่ จะต้องเป็นมืออาชีพ หากที่จะต้องการรุกเข้าไปในตลาดคุณภาพเช่นในฝรั่งเศสและประเด็นสำคัญจะต้องเข้าใจบทบาทของพวก Hyper Market และ Supermarket ซึ่งควบคุมช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าร้อยละ 39 และร้อยละ 36 ตามลำดับ ซึ่งต่างกับประเทศไทยซึ่งช่องทางจำหน่ายจะอยู่ทาง Department store เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่สัดส่วนในยุโรปสินค้าที่ผ่านห้างสรรพสินค้ามีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็น Trend ช่องทางในการกระจายสินค้าในอนาคตของไทย ก็คงจะไม่แตกต่างกับยุโรป ซึ่งประชาชนจะไปจับจ่ายซื้อสินค้าในห้างที่เป็น Mega Store ซึ่งประเทศไทยเราก็มีหลายห้าง เฉพาะในฝรั่งเศส ห้างประเภท Mega Store มีกว่า 500 กว่าห้าง แต่ละห้างมีคนทำงานเป็น 7-8 หมื่นคน

            อย่างไรก็ตาม  สภาวะเศรษฐกิจของยุโรป ก็ไม่ใช่ดีนัก เฉพาะในฝรั่งเศสการเติบโตของ GDP ในไตรมาสแรกเพียง 0.5% ซึ่งคาดว่าใน ปี 2006 อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ อาจจะเพียงร้อยละ 1 จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ร้อยละ 2 โดยอัตราเงินเฟ้อของฝรั่งเศสอยู่ที่ร้อยละ 1.8-2 โดยตัวเลขการว่างงานอยู่ที่ประมาณร้อยละ 9 โดยในปี 2007 ทิศทางของการค้าโลก (ยกเว้นจีน) น่าจะมีทิศทางไปในทางชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา  สำหรับฝรั่งเศส รวมทั้งประเทศยุโรปตะวันตกเศรษฐกิจมีการหดตัวต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ก่อนน้ำมันจะขึ้นราคา โดยเศรษฐกิจของยุโรปและสหรัฐฯน่าจะเติบโตไม่เกินร้อยละ 2.5 ซึ่งก็เป็นการคาดการณ์ก่อนราคาน้ำมันจะลดราคา ดังนั้นที่การขยายการส่งออกภายใต้สภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ซึ่งผู้ส่งออกของไทยนั้นจะต้องเร่งในการสร้าง Capacity Building และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในองค์กร ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภายใต้สภาวะที่กลไกการค้าของภาคเอกชนจะต้องไปผูกพันกับการค้าเสรีภายใต้ Globalization ไม่เริ่มต้นเดี๋ยวนี้ แล้วเราจะเริ่มต้นเมื่อไหร่..??


ไฟล์ประกอบ ไม่มีไฟล์


วันที่ 30-04-2007  

 
หน้าหลัก